วันจันทร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2561

โภชนาการสำหรับผู้ป่วย ไตเสื่อม

ความสำคัญของการควบคุมอาหาร

การควบคุมอาหารมีความสำคัญต่อผู้ที่มีภาวะไตวายเรื้อรัง หรือ ไตเสื่อมเรื้อรัง เพราะจะช่วยให้

  1. ชะลอการเสื่อมของไต
  2. ยืดเวลาที่จะต้องล้างไตให้ช้าลง
  3. ลดภาระการทำงานของไตในการขับถ่ายของเสีย
  4. ทำให้ไตส่วนที่เหลืออยู่ไม่ต้องทำงานหนักเกินตัว
  5. ลดการคั่งของของเสียที่เกิดจากการรับประทานอาหาร
  6. ป้องกันภาวะขาดสารอาหาร
  7. ช่วยให้มีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สารอาหารที่มีผลต่อไต

ผู้ป่วย ไตเสื่อม ควรจำกัดและหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิด เนื่องจากเมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ การได้รับสารอาหารบางชนิดมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพ และร่างกายมีการสะสมของเสียมากเกินไป


กลุ่ม โซเดียม ร่างกายต้องการโซเดียมในปริมาณเล็กน้อยเพื่อควบคุมความดันโลหิต แต่เมื่อ ไตเสื่อม ร่างกายจะไม่สามารถกำจัดโซเดียมส่วนเกินออกไปได้ ก็จะทำให้เกิดอาการ ดังนี้

  1. มีน้ำคั่งและเกิดอาการบวม 
  2. มีความดันโลหิตสูง 
  3. มีน้ำท่วมปอด 
  4. และอาจเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้

และเมื่อไตเสื่อม ก็จะทำให้ ผู้ป่วยไตเสื่อม ไม่สามารถ ทานอาหารได้เหมือนเดิมอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ 
       
อาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น ปลาเค็ม แฮม เบคอน ใส้กอก อาหารดอง ขนมขบเคี้ยว เนยแข็ง 
และอีกกลุ่ม อาหารรสจืดแต่มีโซเดียม เป็นส่วนประกอบ เช่น ขนมปังเนื่องจากมีการใช้ผงฟู





กลุ่ม โพแทสเซียม เป็นเกลือแร่ที่ช่วยให้การทำงานของกล้ามเนื้อและประสาทเป็นไปตามปกติ 
เมื่อไตทำงานลดลง การขับโพแทสเซียม ทางปัสสาวะก็จะลดลงด้วยเช่นกัน ทำให้เกิดการสะสมของโพแทสเซียม 
ถ้ามีโพแทสเซียมสูง ผู้ป่วยไตเสื่อม ก็จะเริ่มมีอาการ ดังนี้
  1. กล้ามเนื้ออ่อนแรง 
  2. เป็นตะคริว 
  3. หัวใจเต้นผิดปกติได้ 
ผู้ป่วย ไตเสื่อมระยะเริ่มต้นและปานกลาง ซึ่งไตยังพอขับถ่ายของเสียได้ดี มีปัสสาวะจำนวนมากและระดับของโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงมาก สามารถรับประทานผักและผลไม้ได้โดยไม่ต้องจำกัด
แต่สำหรับผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย ที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.0 มก./ดล.
ควรควบคุมปริมาณผักและผลไม้
โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำได้วันละ 1-2 ครั้ง
       
กลุ่มที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา ผักกาดหอม ถั่วงอก องุ่น สับปะรด เป็นต้น

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง
เช่น ผลไม้แห้งทุกชนิด ทุเรียน มะขาม แคนตาลูป น้ำลูกยอ มะเขือเทศ ผักใบเขียว หัวผักกาด กล้วย ส้ม มะละกอ ขนุน เป็นต้น

กลุ่ม ฟอสฟอรัส เมื่อไตวาย ร่างกายจะมีปัญหาการดูดซึมแคลเซียม และการกำจัดฟอสฟอรัส จะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมน้อย และมีฟอสฟอรัสในเลือดมากเกินไป

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ รำข้าว เนยแข็ง นมและผลิตภัณฑ์จากนม นมข้นหวาน ไข่ปลา ไข่แดง กุ้ง ปู ผลิตภัณฑ์ที่ใส่ผงฟู ถั่วเมล็ดแห้ง น้ำอัดลมสีดำ เป็นต้น

กลุ่ม โปรตีน เป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการ ผู้ป่วยไตเสื่อม ก็ยังต้องรับประทานอาหารที่ให้โปรตีน แต่ควรจำกัดปริมาณอาหารที่มีโปรตีนสูง ทั้งจากพืชและเนื้อสัตว์ ไม่ให้มากเกินไป เพื่อเป็นการลดการทำงานของไต

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลมาก เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ หนังหมู หนังเป็ดและไก่ เนื้อหมูและเนื้อวัวติดมัน ซี่โครงหมูที่ติดมันมาก หมูหัน เป็ดปักกิ่ง หมูสามชั้น หมูกรอบ เป็ดย่าง ห่านพะโล้ ไข่ปลา ไข่กุ้ง 

และ เนื้อสัตว์ที่มีกรดอะมิโนจำเป็นไม่ครบ ซึ่งทำให้ไตทำงานขับถ่ายของเสียหนักขึ้น เช่น เอ็นหมู เอ็นวัว เอ็นไก่ หูฉลาม ตีนเป็ด ตีนไก่ หนังสัตว์ กระดูกอ่อน รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆ และขนม อาหารที่มีไส้ถั่ว

ข้อควรปฏิบัติ

ควรรับประทานอาหารให้หลากหลายในแต่ละมื้ออาหารและครอบคลุมกลุ่มข้าว เนื้อสัตว์ ผัก และผลไม้

ผู้มีภาวะไตเรื้อรังห้ามใช้ซอสปรุงรสเทียม เกลือเทียม ซีอิ๊วเทียม น้ำปลาเทียม หากต้องการเพิ่มรสชาติอาหารให้ใช้เครื่องเทศแทน


ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

--------

#ดูแลสุขภาพ #ฟื้นฟูร่างกาย #ห่างไกลโรค

สอบถามสุขภาพ และ รับข้อมูลดีๆ

ศึกษาเพิ่มเติม คลิ๊ก http://www.hrtexo.com


คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife
อย่าลืมแชร์บทความนี้ให้เพื่อน ๆ ด้วยนะค๊าา ขอบคุณมากค่ะ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น