วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560


เจาะลึก เบาหวานโรคแทรกซ้อนของคนเป็นไต


โรคเบาหวาน ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือด ซึ่งได้จากสารอาหารไปใช้ได้ตามปกติ FSB สูงกว่า 115 mg/dl ภาวะนี้จะทำให้เกิด · น้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินในเลือดสูงด้วย · ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น, การทำงานของผนังเซลล์เสียไป, DHEA ถูกรบกวน · สภาพอวัยวะทั่วไปเสื่อมเร็วกว่าปกติ · ทำให้แก่เร็ว, ความดันโลหิตสูง, ไขมันต่างๆ ผิดปกติ, อ้วน, กลูโคสต่างๆ ผิดปกติ, กระดูกพรุน, เนื้องอก, มะเร็งเติบโตได้ดี ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน 

1. การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่หลอดเลือดขนาดเล็ก (Microvascular) เช่น ภาวะไตวาย ภาวะจอรับภาพเปลี่ยนแปลง (Rentinopathy) ภาวะเส้นประสาทอักเสบชนิดที่เกิดขึ้นที่เส้นประสาทเดี่ยว (Mononeuropathy) 

2. การเปลี่ยนแปลงเกิดที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular) เช่น หลอดเลือดใหญ่แข็งตัว และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 

3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การเกิดต้อกระจก การเกิดเส้นประสาทเสื่อมชนิดที่เกิดในเส้นประสาทหลายเส้น (Polyneuropathy) 

อะไรทำให้เป็นเบาหวาน 
1. สารเคมี - ตัวขัดขาวในแป้ง (Alloxan) เช่น ข้าวขัดขาว, ก๋วยเตี๋ยว, ขนมจีน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นตัวทำลายตับอ่อนโดยตรง - มีอยู่ในแป้งข้าวสาลี
2. Steroid มีผลในการทำลายกระดูก ทำลายไต และทำให้เป็นเบาหวาน 
3. น้ำมันทั้งหลายขาด Lipase 

4. เครียด ธัยรอยด์ต่ำ 


5. กินอาหารขยะ ขาดสารอาหารในการซ่อมแซมร่างกาย (อาหารขยะ - อาหารที่ได้รับการแปรสภาพจนไม่เหลือสภาพเดิม, ทำในปริมาณมาก และ สารอาหารที่เหลืออยู่น้อย) 



6. Artificial Sweetener สารให้ความหวาน น้ำตาลเทียม จะเป็นการหลอกตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน 



การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน 4 วิธี 

1. การควบคุมอาหาร 

2. การให้ยาทาน 

3. อินซูลินฉีด 

4. การออกกำลังกาย 

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 3 ประเภท 

1. ห้ามรับประทาน : อาหารน้ำตาล, ขนมหวาน, น้ำหวาน, ผลไม้หวาน, น้ำผลไม้ (ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาล 1%) 
น้ำตาลเทียม 4 ชนิด 
1.1 แอสปาเทม - เป็นโปรตีน 
1.2 เอสซัลเฟมเค 
1.3 แซคคารีน (ขรรณทศกรณ์) มีความหวาน 300-400 เท่าของน้ำตาลทราย สามารถทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 
1.4 ฟรุคโตส, ซอร์บิทอล, แมนนิทอล, ไซลิทอล เป็นน้ำตาลจากผลไม้ อันตรายเท่า น้ำตาลทราย



2. รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ผักทุกชนิด (ประมาณ 3-4 จานรองถ้วยกาแฟ/วัน)




3. รับประทานได้แต่ต้องเลือกชนิด : พวกคาร์โบไฮเดรต โดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ 
3.1 ไฟเบอร์



3.2 ไกลซีมิคอินเด็กซ์ - ข้าวเจ้า, น้ำตาลกลูโคส อาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์ในอาหารสูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) แอปเปิ้ลเขียว, ฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ถั่วเขียว, แครอท, ถั่วแระ, อาหารซีรีล ชนิดแบรน, ถั่วฝักยาว , เม็ดแมงลัก ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย (ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารมาตรฐาน) ทุเรียน 62.4 องุ่น 53.1 สัปปะรด 62.4 มะม่วง 47.5 ลำไย 57.2 มะละกอ 40.6 ส้ม 55.6 กล้วย 38.6




ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ คือ การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซึมของ ทุเรียน, สัปปะรด ฯลฯ เมื่อเทียบกับน้ำตาลกลูโคส แสดงให้เห็นคร่าวๆ ว่า ทุเรียนมีน้ำตาล 62.4% สัปปะรดมีน้ำตาล 62.4% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นใครกินผลไม้เยอะก็เหมือนกินน้ำตาลทรายแหละครับ 

โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันมากกว่า 1 ล้านคน มีอยู่ 2 ชนิด 

ชนิดที่ 1 เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันเล่นงานตนเองชนิดที่รักษาไม่ได้ (incurable autoimmune disorder) ไปทำลายเซลที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ดังนั้น การฉีดอินซูลินจึงจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยด้วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีชีวิตอยู่รอดได้ 

ชนิดที่ 2 เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ โรคเบาหวานชนิดนี้เป็นความสามารถของร่างกายในการนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้ (metabolize) ไม่ได้ถูกทำลายไปทั้งหมด แต่มีความบกพร่องอย่างรุนแรง ซึ่งมักเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่ขาดสมดุลเป็นระยะเวลานาน และ/หรือ มีวิถีชีวิตที่อยู่เฉยๆ ไม่ออกกำลังกาย โดยตับอ่อนอาจผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือบางทีก็มากเกินไป แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ในการเมตาโบไลซ์น้ำตาลได้อย่างถูกต้อง 

ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ มีมากขึ้นในผู้ใหญ่วัยต้นๆ หรือแม้แต่เกิดขึ้นในเด็กก็มี ทั้งนี้เนื่องจากโภชนาการและการดำเนินวิถีชีวิตที่ไม่ดี 

การป้องกันเบาหวาน 4 ประการ 
1. ให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพอ เนื่องจากไฟเบอร์บางชนิดช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง หรือ ช่วยทำให้ "glycemic effect" หรือผลที่เกิดจากน้ำตาลในอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง 

2. รับประทานไขมันชนิดที่ถูกต้อง ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโนอันแซ็ทรูเรเต็ด เช่น น้ำมันมะกอก ช่วยทำให้ผลของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น 

3. ควบคุมน้ำหนักตัว รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่แข็งแรง อาหารที่มีสัดส่วนของโปรตีนเมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น จะช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีกว่า และคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ทั้งผักและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมากกว่าที่จะเป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปง่าย (ขนมปัง, ของหวาน เป็นต้น) และการรับประทานผลไม้และน้ำผลไม้มากๆ ก็มีผลทางด้านลบต่ออัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตในร่างกายผู้ป่วยเช่นกัน 

4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็วๆ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น การออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนักจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลดีเช่นกัน เพราะกล้ามเนื้อจะสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน ดังนั้น ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากก็จะยิ่งนำน้ำตาลออกไปจากกระแสเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งการทำงานของตับอ่อนมากขึ้นเท่านั้น



ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้

#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น