วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560


เจาะลึก เบาหวานโรคแทรกซ้อนของคนเป็นไต


โรคเบาหวาน ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นเนื่องจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือด ซึ่งได้จากสารอาหารไปใช้ได้ตามปกติ FSB สูงกว่า 115 mg/dl ภาวะนี้จะทำให้เกิด · น้ำตาลในเลือดสูง อินซูลินในเลือดสูงด้วย · ทำให้เกิดอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น, การทำงานของผนังเซลล์เสียไป, DHEA ถูกรบกวน · สภาพอวัยวะทั่วไปเสื่อมเร็วกว่าปกติ · ทำให้แก่เร็ว, ความดันโลหิตสูง, ไขมันต่างๆ ผิดปกติ, อ้วน, กลูโคสต่างๆ ผิดปกติ, กระดูกพรุน, เนื้องอก, มะเร็งเติบโตได้ดี ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวาน 

1. การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่หลอดเลือดขนาดเล็ก (Microvascular) เช่น ภาวะไตวาย ภาวะจอรับภาพเปลี่ยนแปลง (Rentinopathy) ภาวะเส้นประสาทอักเสบชนิดที่เกิดขึ้นที่เส้นประสาทเดี่ยว (Mononeuropathy) 

2. การเปลี่ยนแปลงเกิดที่หลอดเลือดขนาดใหญ่ (Macrovascular) เช่น หลอดเลือดใหญ่แข็งตัว และกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด 

3. การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การเกิดต้อกระจก การเกิดเส้นประสาทเสื่อมชนิดที่เกิดในเส้นประสาทหลายเส้น (Polyneuropathy) 

อะไรทำให้เป็นเบาหวาน 
1. สารเคมี - ตัวขัดขาวในแป้ง (Alloxan) เช่น ข้าวขัดขาว, ก๋วยเตี๋ยว, ขนมจีน ฯลฯ ซึ่งจะเป็นตัวทำลายตับอ่อนโดยตรง - มีอยู่ในแป้งข้าวสาลี
2. Steroid มีผลในการทำลายกระดูก ทำลายไต และทำให้เป็นเบาหวาน 
3. น้ำมันทั้งหลายขาด Lipase 

4. เครียด ธัยรอยด์ต่ำ 


5. กินอาหารขยะ ขาดสารอาหารในการซ่อมแซมร่างกาย (อาหารขยะ - อาหารที่ได้รับการแปรสภาพจนไม่เหลือสภาพเดิม, ทำในปริมาณมาก และ สารอาหารที่เหลืออยู่น้อย) 



6. Artificial Sweetener สารให้ความหวาน น้ำตาลเทียม จะเป็นการหลอกตับอ่อนให้สร้างอินซูลิน 



การรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน 4 วิธี 

1. การควบคุมอาหาร 

2. การให้ยาทาน 

3. อินซูลินฉีด 

4. การออกกำลังกาย 

อาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน แบ่งเป็น 3 ประเภท 

1. ห้ามรับประทาน : อาหารน้ำตาล, ขนมหวาน, น้ำหวาน, ผลไม้หวาน, น้ำผลไม้ (ยกเว้นน้ำมะเขือเทศ มีน้ำตาล 1%) 
น้ำตาลเทียม 4 ชนิด 
1.1 แอสปาเทม - เป็นโปรตีน 
1.2 เอสซัลเฟมเค 
1.3 แซคคารีน (ขรรณทศกรณ์) มีความหวาน 300-400 เท่าของน้ำตาลทราย สามารถทำให้เป็นมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ 
1.4 ฟรุคโตส, ซอร์บิทอล, แมนนิทอล, ไซลิทอล เป็นน้ำตาลจากผลไม้ อันตรายเท่า น้ำตาลทราย



2. รับประทานได้ไม่จำกัดจำนวน ผักทุกชนิด (ประมาณ 3-4 จานรองถ้วยกาแฟ/วัน)




3. รับประทานได้แต่ต้องเลือกชนิด : พวกคาร์โบไฮเดรต โดยคำนึงถึงปัจจัย 2 อย่าง คือ 
3.1 ไฟเบอร์



3.2 ไกลซีมิคอินเด็กซ์ - ข้าวเจ้า, น้ำตาลกลูโคส อาหารที่มีปริมาณไฟเบอร์ในอาหารสูง (มากกว่า 3 กรัม/อาหาร 100 กรัม) แอปเปิ้ลเขียว, ฝรั่ง, ข้าวโพดอ่อน, ถั่วเขียว, แครอท, ถั่วแระ, อาหารซีรีล ชนิดแบรน, ถั่วฝักยาว , เม็ดแมงลัก ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย (ใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารมาตรฐาน) ทุเรียน 62.4 องุ่น 53.1 สัปปะรด 62.4 มะม่วง 47.5 ลำไย 57.2 มะละกอ 40.6 ส้ม 55.6 กล้วย 38.6




ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ คือ การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซึมของ ทุเรียน, สัปปะรด ฯลฯ เมื่อเทียบกับน้ำตาลกลูโคส แสดงให้เห็นคร่าวๆ ว่า ทุเรียนมีน้ำตาล 62.4% สัปปะรดมีน้ำตาล 62.4% โดยประมาณ เพราะฉะนั้นใครกินผลไม้เยอะก็เหมือนกินน้ำตาลทรายแหละครับ 

โรคเบาหวานที่เกิดขึ้นกับชาวอเมริกันมากกว่า 1 ล้านคน มีอยู่ 2 ชนิด 

ชนิดที่ 1 เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันเล่นงานตนเองชนิดที่รักษาไม่ได้ (incurable autoimmune disorder) ไปทำลายเซลที่ผลิตอินซูลินในตับอ่อน ดังนั้น การฉีดอินซูลินจึงจำเป็นเพื่อให้ผู้ป่วยด้วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีชีวิตอยู่รอดได้ 

ชนิดที่ 2 เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานมากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ โรคเบาหวานชนิดนี้เป็นความสามารถของร่างกายในการนำคาร์โบไฮเดรตไปใช้ (metabolize) ไม่ได้ถูกทำลายไปทั้งหมด แต่มีความบกพร่องอย่างรุนแรง ซึ่งมักเกิดหลังจากรับประทานอาหารที่ขาดสมดุลเป็นระยะเวลานาน และ/หรือ มีวิถีชีวิตที่อยู่เฉยๆ ไม่ออกกำลังกาย โดยตับอ่อนอาจผลิตอินซูลินได้เพียงพอ หรือบางทีก็มากเกินไป แต่ร่างกายไม่สามารถนำไปใช้ในการเมตาโบไลซ์น้ำตาลได้อย่างถูกต้อง 

ปัจจุบันผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 นี้ มีมากขึ้นในผู้ใหญ่วัยต้นๆ หรือแม้แต่เกิดขึ้นในเด็กก็มี ทั้งนี้เนื่องจากโภชนาการและการดำเนินวิถีชีวิตที่ไม่ดี 

การป้องกันเบาหวาน 4 ประการ 
1. ให้ร่างกายได้รับไฟเบอร์อย่างเพียงพอ เนื่องจากไฟเบอร์บางชนิดช่วยทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง หรือ ช่วยทำให้ "glycemic effect" หรือผลที่เกิดจากน้ำตาลในอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้ช้าลง 

2. รับประทานไขมันชนิดที่ถูกต้อง ไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโมโนอันแซ็ทรูเรเต็ด เช่น น้ำมันมะกอก ช่วยทำให้ผลของอินซูลินในร่างกายดีขึ้น 

3. ควบคุมน้ำหนักตัว รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่แข็งแรง อาหารที่มีสัดส่วนของโปรตีนเมื่อเทียบกับคาร์โบไฮเดรตสูงขึ้น จะช่วยลดไขมันในร่างกายได้ดีกว่า และคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานควรเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ทั้งผักและธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีมากกว่าที่จะเป็นคาร์โบไฮเดรตในรูปง่าย (ขนมปัง, ของหวาน เป็นต้น) และการรับประทานผลไม้และน้ำผลไม้มากๆ ก็มีผลทางด้านลบต่ออัตราส่วนของคาร์โบไฮเดรตในร่างกายผู้ป่วยเช่นกัน 

4. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดินเร็วๆ สัปดาห์ละ 4 ครั้ง จะช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น การออกกำลังกายประเภทยกน้ำหนักจะช่วยสร้างมวลกล้ามเนื้อ ซึ่งเป็นผลดีเช่นกัน เพราะกล้ามเนื้อจะสามารถนำกลูโคสไปใช้ได้โดยไม่ต้องใช้อินซูลิน ดังนั้น ยิ่งมีกล้ามเนื้อมากก็จะยิ่งนำน้ำตาลออกไปจากกระแสเลือดได้โดยไม่ต้องพึ่งการทำงานของตับอ่อนมากขึ้นเท่านั้น



ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้

#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เกลือแร่ที่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง 

และ โรคหัวใจ ต้องรู้จัก 

อาหารต้องห้าม สำหรับผู้ป่วยโรคไต และ โรคหัวใจ

โพแทสเซียม
คือ เกลือแร่ที่มีอยู่ในเลือดชนิดหนึ่ง มีหน้าที่เกี่ยวกับการหดตัว และคลายตัวของกล้ามเนื้อ และหัวใจ
การมีโพแทสเซียมในเลือดสูงมากเกินไป อาจทำให้หัวใจเต้นผิดปกติ และทำให้หัวใจหยุดเต้นได้

ความต้องการขึ้นอยู่กับระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงเกิน 5 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ควรจำกัดหรืองดอาหารที่มี โพแทสเซียมสูง

โพแทสเซียมมีมากในอาหารหมวดผัก และผลไม้ซึ่งมีกากใยช่วยในการระบาย ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรงดในหมวดนี้ และเลี่ยงไปรับประทานอาหารในกลุ่มที่มี โพแทสเซียมต่ำ ถึงปานกลาง


ผักที่มีโพแทสเซียมสูง
ผักใบเขียว และ สีส้ม เช่น คะน้า กวางตุ้ง แครอท ฟักทอง ผักโขม มะเขือเทศ บล๊อคโคลี่ หน่อไม้ฝรั่ง
ใบกุ่ยช่าย ฯลฯ








ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง
เช่น ฝรั่ง มะละกอสุก แคนตาลูป ลำใย ทุเรียน กล้วย กระท้อน ลูกเกด ลูกพรุน มะขามหวาน แก้วมังกร น้ำส้มคั้น น้ำมะพร้าว มะม่วงสุก ฯลฯ







ผักที่มีโพแทสเซียมปานกลาง
ผักกาดขาว มะเขือยาว หัวไชเท้า กระหล่ำปลี




ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมปานกลาง
ส้มเขียวหวาน มะม่วงดิบ สัปปะรด ส้มโอ แอปเปิ้ล




✪ ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ
ที่สามารถเลือกรับประทานได้ควร ลวก หรือต้มผักให้สุก เช่น ฟักเขียวสุก บวบ 
ถั่วงอกสุก




✪ ผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำลองกอง ชมพู่ เงาะ องุ่น มังคุด แตงโม ฯลฯ





ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้

#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife