วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย


เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นโรคของไตที่ไม่สามารถทำการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยไม่อาจจะมีชีวิตรอดต่อไปนี้ นอกจากจะมีการช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายแทนไต โดยการล้างท้องและการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ซึ่งการกระทำทั้ง 2 วิธี ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยวิธีการเหล่านี้อย่างมหาศาล

โรงพยาบาลใดบ้างที่ให้บริการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลหลายแห่งที่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ เช่น ร.พ.ศิริราช, ร.พ.จุฬาลงกรณ์, ร.พ.รามาธิบดี, ร.พ.ภูมิพลอดุลยเดช, ร.พ.พระมงกุฎเกล้า, ร.พ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ร.พ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ร.พ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ร.พ.ตำรวจ และ ร.พ.เอกชนบางแห่ง



ผู้ป่วยคนไหนบ้างที่ควรจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกคนจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยที่สมควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต ควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ

1.อายุไม่ควรจะเกิน 55 ปี เนื่องจากมีผู้ป่วยที่อายุมาก ๆ ผลในระยะยาวไม่ดีเทียบกับผู้ป่วยอายุน้อย

2.ไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งร้ายแรงหรือเป็นอันตรายต่อการดมยาสลบผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคติดเชื้อรุนแรง ฯลฯ

3.จะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ เศรษฐฐานะ ตลอดจนพร้อมที่จะร่วมมือในการรักษา และมาตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ


หลังผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้วผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การที่จะให้ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายนั้น คงอยู่คู่กับผู้ป่วยและทำงานได้ตามปกติได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้นั้น ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวดังนี้คือ

ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ ห้ามงดยาเอง ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายยอมรับไตที่ปลูกถ่าย โดยไม่มีปฏิกริยาต่อต้าน (ยานี้ต้องรับประทานตลอดชีวิต)




ต้องมารับการตรวจหลังผ่าตัดตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ


ถ้ามีไข้หรือมีอาการผิดปกติรู้สึกเจ็บป่วยไม่สบายด้วยโรคอะไรก็แล้วแต่ ห้ามซื้อยารับประทานเอง ต้องไปพบแพทย์ที่ดูแลรักษาอยู่ประจำ ทั้งนี้เนื่องจากหลังผ่าตัดอาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากยา ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด หรือร่างกายไม่ยอมรับไตที่ปลูกถ่าย


ต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น