วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

สมดุลน้ำในร่างกาย

สมดุลน้ำในร่างกาย 

หนึ่งในหน้าที่หลักของไต คือการรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของมนุษย์ เป็นอวัยวะที่ควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้ปกติ เพราะหากร่างกายขาดน้ำเพียง 2% นั่นแปลว่าจะเกิดความผิดปกติในระบบเลือด ดังนั้นไตจึงมีหน้าที่ในการปรับดุลน้ำ เช่นหากร่างกายรับ(ดื่ม)น้ำมากเกินไป ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินออกมาโดยเฉพาะทางปัสสาวะ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไป ไตจะไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดความรู้สึกหิวน้ำ กระหายน้ำ และมีความต้องการดื่มน้ำมากขึ้น

การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี

  1. น้ำที่ดื่มถ้าจะให้ดีต้องเป็นน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนมากหรือเย็นจัด แต่ก็ยกเว้นในบางกรณี เช่น ตอนเช้าถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำอุ่นเพราะจะช่วยในการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น ลำไส้ก็จะสะอาดมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การดื่มนั้นที่ถูกต้องนั้น ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะให้ดีก็วันละ 14 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัวของคุณ เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 kg. ก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 10 แก้วนั่นเอง (กรณีนี้ให้นับรวมปริมาณอื่นๆ ด้วย เช่น น้ำจากผักผลไม้ แกง ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ด้วย)
  3. ในตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือก่อนแปรงฟัน ควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว เป็นน้ำอุ่น ๆ ได้ก็จะดีมาก
  4. ในระหว่างวันควรดื่มน้ำ 1 แก้วทั้งก่อนและหลังมื้ออาหารทุก ๆ มื้อ และในระหว่างช่วงสาย บ่าย เย็น ก็ควรดื่มน้ำอีกครั้งละ 1 แก้ว
  5. ในช่วงก่อนนอน น้ำอุ่น ๆ สัก 1 แก้วจะดีมาก
  6. การดื่มน้ำควรดื่มครั้งละแก้ว และที่สำคัญไม่ควรดื่มรวดเดียวหลาย ๆ แก้ว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ “น้ำเป็นพิษได้”
  7. อย่าดื่มน้ำมากเกินไปก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือถ้าจะดื่มก็ควรดื่มน้ำก่อนสักประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 45 นาที
  8. ในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ทำให้ระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี
  9. ภายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำทันที เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วครึ่งชั่วโมง
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำอัดลม เพราะน้ำเย็นจะไปดึงความร้อนในร่างกายมาทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกายจึงจะดูดซึมได้ ทำให้ร่างกายเสียเวลาในการปรับสมดุลและสูญเสียพลังงาน
  11. สำหรับคุณผู้หญิงบางท่านที่มักมีอาการปวดประจำเดือน ช่วงที่มีประจำเดือนควรงดดื่มน้ำเย็น เพราะการดื่มน้ำเย็นจะทำให้อาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น