วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2560

ผู้ที่จะปลูกถ่ายไต ควรเตรียมตัวอย่างไร

ผู้ที่จะปลูกถ่ายไต ควรเตรียมตัวอย่างไร 

➤การปลูกถ่ายไต คือการรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย โดยการใช้ไตจากผู้อื่นให้มาทำหน้าที่แทนไตเก่าของผู้ป่วยที่สูญเสียหน้าที่ไปอย่างถาวรแล้ว ปัจจุบันถือเป็น
การรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง ระยะสุดท้ายทั้งในวัยเด็กและผู้ใหญ่ เนื่องจากถ้าไตใหม่ทำ
หน้าที่ได้ดีแล้ว สามารถทดแทนไตเดิมได้สมบูรณ์ คุณภาพชีวิตจะดีขึ้น รวมทั้งอายุที่ยืนยาวกว่าการรักษา



➤มีทางเลือกอื่นหรือไม่นอกจากการปลูกถ่ายไต
ผู้ป่วยที่ไม่สามารถปลูกถ่ายไตได้ ด้วยเหตุผลใดก็ตามสามารถรักษาทดแทนไตด้วยวิธีอื่นได้ เช่นการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม การล้างช่องท้องด้วยน้ำยา หรือ แม้แต่การรักษาทางยา ถึงแม้ประสิทธิภาพในการรักษาจะไม่ดีเท่าที่ควร แต่ก็จะช่วยให้อาการผู้ป่วยทุเลาลงได้บ้าง





➤ใครที่ปลูกถ่ายไตไม่ได้
➧ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีปฏิกริยาต่อต้านไตใหม่
➧ผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด โรคจิตเภท
➧ผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือด การติดเชื้อไวรัสที่มีอาการรุนแรง เช่น โรคไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี
โรคไวรัสเอดส์
➧ผู้ป่วยที่มีโรคทางกายอยู่เดิม เช่นเบาหวานระยะลุกลาม โรคตับอักเสบระยะรุนแรง โรคหัวใจล้มเหลว
ระยะรุนแรง แผลในกระเพาะอาหารระยะรุนแรง ตับอ่อนอักเสบ
➧ช่วงอายุ > 65 ปี หรือในเด็กอายุ < 5 ปี
➧มีโรคไตที่จะเกิดซ้ำได้ในไตใหม่ถ้าเปลี่ยนไต เช่น ออกซวโลซิส
➧มะเร็งระยะลุกลาม
➧ความผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะที่ยังแก้ไขไม่ได้
➧ไม่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น ไม่กินยาอย่างสม่ำเสมอ ไม่มาพบแพทย์ตามที่นัดตรวจ
➧ผู้ป่วยโรคหอบหืด/โรคเอสแอลอี/โรคหัวใจ ต้องไม่อยู่ในช่วงระยะรุนแรงกำเริบอยู่

➤ลำดับอาการของผู้ป่วยจนถึงการรอการเปลี่ยนไต
➧แพทย์วินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยไตวานเรื้อรังระยะสุดท้าย
➧ซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางหัวใจ ตรวจสภาพจิตใจ
➧เจาะเลือดตรวจหน้าที่ของไต / ตับ / ตับอักเสบ บี -ซี / ซิฟิลิส / เอช ไอ วี
➧ตรวจเนื้อเยื่อ
➧การลงทะเบียนรอ
➧ส่งเลือดตรวจทุก 2 เดือน (ตรวจหาภูมิคุ้มกัน)/ตรวจร่างกายทุก 2-3 เดือน
➧การลงทะเบียนรอ พร้อมรับการเปลี่ยนถ่าย

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2560

ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย

โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย


เป็นโรคที่สร้างความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วย และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้เนื่องจากผู้ป่วยเหล่านี้เป็นโรคของไตที่ไม่สามารถทำการกำจัดของเสียออกจากร่างกายได้เพียงพอ ผู้ป่วยไม่อาจจะมีชีวิตรอดต่อไปนี้ นอกจากจะมีการช่วยขจัดของเสียออกจากร่างกายแทนไต โดยการล้างท้องและการฟอกเลือดโดยใช้เครื่องไตเทียม ซึ่งการกระทำทั้ง 2 วิธี ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาโดยวิธีการเหล่านี้อย่างมหาศาล

โรงพยาบาลใดบ้างที่ให้บริการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลหลายแห่งที่สามารถทำการผ่าตัดเปลี่ยนไตได้ เช่น ร.พ.ศิริราช, ร.พ.จุฬาลงกรณ์, ร.พ.รามาธิบดี, ร.พ.ภูมิพลอดุลยเดช, ร.พ.พระมงกุฎเกล้า, ร.พ.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ร.พ.มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ร.พ.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ร.พ.ตำรวจ และ ร.พ.เอกชนบางแห่ง



ผู้ป่วยคนไหนบ้างที่ควรจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต
ไม่ใช่ว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายทุกคนจะได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต ผู้ป่วยที่สมควรได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไต ควรมีคุณสมบัติดังนี้คือ

1.อายุไม่ควรจะเกิน 55 ปี เนื่องจากมีผู้ป่วยที่อายุมาก ๆ ผลในระยะยาวไม่ดีเทียบกับผู้ป่วยอายุน้อย

2.ไม่มีโรคประจำตัว ซึ่งร้ายแรงหรือเป็นอันตรายต่อการดมยาสลบผ่าตัด เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคติดเชื้อรุนแรง ฯลฯ

3.จะต้องมีความพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ เศรษฐฐานะ ตลอดจนพร้อมที่จะร่วมมือในการรักษา และมาตามนัดของแพทย์อย่างสม่ำเสมอ


หลังผ่าตัดเปลี่ยนไตแล้วผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
การที่จะให้ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายนั้น คงอยู่คู่กับผู้ป่วยและทำงานได้ตามปกติได้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้นั้น ผู้ป่วยต้องปฏิบัติตัวดังนี้คือ

ต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ ห้ามงดยาเอง ทั้งนี้เพื่อให้ร่างกายยอมรับไตที่ปลูกถ่าย โดยไม่มีปฏิกริยาต่อต้าน (ยานี้ต้องรับประทานตลอดชีวิต)




ต้องมารับการตรวจหลังผ่าตัดตามที่แพทย์นัดอย่างสม่ำเสมอ


ถ้ามีไข้หรือมีอาการผิดปกติรู้สึกเจ็บป่วยไม่สบายด้วยโรคอะไรก็แล้วแต่ ห้ามซื้อยารับประทานเอง ต้องไปพบแพทย์ที่ดูแลรักษาอยู่ประจำ ทั้งนี้เนื่องจากหลังผ่าตัดอาจจะมีปัญหาต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ เช่น ภาวะแทรกซ้อนจากยา ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด หรือร่างกายไม่ยอมรับไตที่ปลูกถ่าย


ต้องปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2560

สมดุลน้ำในร่างกาย

สมดุลน้ำในร่างกาย 

หนึ่งในหน้าที่หลักของไต คือการรักษาสมดุลของน้ำภายในร่างกายของมนุษย์ เป็นอวัยวะที่ควบคุมปริมาณของน้ำในร่างกายให้ปกติ เพราะหากร่างกายขาดน้ำเพียง 2% นั่นแปลว่าจะเกิดความผิดปกติในระบบเลือด ดังนั้นไตจึงมีหน้าที่ในการปรับดุลน้ำ เช่นหากร่างกายรับ(ดื่ม)น้ำมากเกินไป ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำส่วนเกินออกมาโดยเฉพาะทางปัสสาวะ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายได้รับน้ำน้อยเกินไป ไตจะไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดความรู้สึกหิวน้ำ กระหายน้ำ และมีความต้องการดื่มน้ำมากขึ้น

การดื่มน้ำอย่างถูกวิธี

  1. น้ำที่ดื่มถ้าจะให้ดีต้องเป็นน้ำอุณหภูมิปกติ ไม่ร้อนมากหรือเย็นจัด แต่ก็ยกเว้นในบางกรณี เช่น ตอนเช้าถ้าเป็นไปได้ควรดื่มน้ำอุ่นเพราะจะช่วยในการขับถ่ายให้ดียิ่งขึ้น ลำไส้ก็จะสะอาดมากขึ้นตามไปด้วย
  2. การดื่มนั้นที่ถูกต้องนั้น ควรดื่มอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะให้ดีก็วันละ 14 แก้ว หรือโดยเฉลี่ยแล้วควรดื่มน้ำให้เพียงพอกับน้ำหนักตัวของคุณ เช่น ถ้าคุณมีน้ำหนัก 60 kg. ก็ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร หรือประมาณ 10 แก้วนั่นเอง (กรณีนี้ให้นับรวมปริมาณอื่นๆ ด้วย เช่น น้ำจากผักผลไม้ แกง ก๋วยเตี๋ยวต่าง ๆ ด้วย)
  3. ในตอนเช้าหลังตื่นนอนหรือก่อนแปรงฟัน ควรดื่มน้ำ 2-4 แก้ว เป็นน้ำอุ่น ๆ ได้ก็จะดีมาก
  4. ในระหว่างวันควรดื่มน้ำ 1 แก้วทั้งก่อนและหลังมื้ออาหารทุก ๆ มื้อ และในระหว่างช่วงสาย บ่าย เย็น ก็ควรดื่มน้ำอีกครั้งละ 1 แก้ว
  5. ในช่วงก่อนนอน น้ำอุ่น ๆ สัก 1 แก้วจะดีมาก
  6. การดื่มน้ำควรดื่มครั้งละแก้ว และที่สำคัญไม่ควรดื่มรวดเดียวหลาย ๆ แก้ว เพราะจะไม่เป็นผลดีต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะ “น้ำเป็นพิษได้”
  7. อย่าดื่มน้ำมากเกินไปก่อนที่จะรับประทานอาหาร หรือถ้าจะดื่มก็ควรดื่มน้ำก่อนสักประมาณครึ่งชั่วโมง หรือ 45 นาที
  8. ในระหว่างรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง ทำให้ระบบย่อยทำงานได้ไม่ดี
  9. ภายหลังจากรับประทานอาหารเสร็จไม่ควรดื่มน้ำทันที เพราะจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะเจือจางลง ส่งผลให้การย่อยอาหารทำงานได้ไม่เต็มที่ โดยควรดื่มหลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้วครึ่งชั่วโมง
  10. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นและน้ำอัดลม เพราะน้ำเย็นจะไปดึงความร้อนในร่างกายมาทำให้น้ำที่เราดื่มเข้าไปมีอุณหภูมิเท่ากับร่างกายจึงจะดูดซึมได้ ทำให้ร่างกายเสียเวลาในการปรับสมดุลและสูญเสียพลังงาน
  11. สำหรับคุณผู้หญิงบางท่านที่มักมีอาการปวดประจำเดือน ช่วงที่มีประจำเดือนควรงดดื่มน้ำเย็น เพราะการดื่มน้ำเย็นจะทำให้อาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney