วันอังคารที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

9 อาการหลังฟอกไต ที่ควรรู้


9 อาการหลังฟอกไต ที่ควรรู้





9 อาการหลังฟอกไต
แม้จะได้รับการฟอกแล้ว เราก็ควรจะต้องดูแลร่างกายให้มากขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนต่างๆ
ที่อาจเกิดหลังจากที่ได้รับการฟอกอาการต่างๆที่ควรสังเกตุตัวเองมีอะไรบ้าง




1.บวมตามตัว เกิดจากมีน้ำส่วนเกินขังอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณเท้าจะเห็นได้ชัดกว่าตามตำแหน่งอื่นๆ
➤ลักษณะบวมที่เกิดจากน้ำ จะสังเกตได้ง่ายโดยการกดลงไปในบริเวณที่บวม จะเกิดเป็นรอยบุ๋ม ยกเว้นอาการบวมซึ่งเกิดจากการอักเสบติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อผู้ป่วยเข้ารับการฟอกเลือด น้ำส่วนเกินจะถูกดึงทิ้งไปและอาการบวมก็จะยุบลงเอง




2.ระบบขับถ่ายไม่ปกติ มักมีการสะสมของเสียในกระแสโลหิตเมื่อของเสียไปสะสมที่บริเวณระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการผิดปกติของระบบผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้, อาเจียน, เบื่ออาหาร, รวมทั้งมีอาการท้องผูก หรือ ท้องเสียร่วมด้วย


➤อาการท้องผูก
แก้ไขได้โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหากมีอาการท้องผูกมากๆสามารถขอยาระบายจากแพทย์เจ้าของไข้ได้เป็นครั้งคราว

➤อาการท้องเสีย
เกิดจากการสะสมของเสียมาก ทำให้ระบบการทำงานของลำไส้ผิดปกติไป เมื่อผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือดอย่างพอเพียง อาการท้องเสียจะหายไปเอง ยกเว้นอาการท้องเสียที่เกิดจากการติดเชื้อเพราะผู้ป่วยโรคไตวายสามารถติดเชื้อได้โดยง่าย



3.นอนไม่หลับ เมื่อมีภาวะของเสียในเลือดและในสมองเพิ่มมากขึ้นจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกหงุดหงิดไม่สบายตัว ส่งผลให้นอนไม่หลับจึงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หรือขอยานอนหลับจากแพทย์เจ้าของไข้ได้ตามจำเป็น โดยพิจารณาว่า การนอนไม่หลับนั้น เกิดจากอาการเหนื่อยหอบ หรืออาการแทรกซ้อนอื่นใดด้วยหรือไม่




4.ปวดกระดูก, กระดูกพรุน, เปราะบาง ไตมีหน้าที่สำคัญ ในการควบคุมระบบฮอร์โมนพาราไธรอยด์, วิตามินดี,แคลเซียม, และฟอสฟอรัส ผู้ป่วยโรคไตวายจะมีระดับของแคลเซียมในเลือดต่ำมีระดับ ฟอสฟอรัสในเลือดสูง จึงมักทำให้มีอาการกระดูกผุกร่อน,เปราะบางได้ง่าย เนื่องจาก แคลเซียมและฟอสฟอรัสมีบทบาทสำคัญในการคงสภาพของกระดูกในร่างกายของเราแต่ละคนแต่ถ้าผู้ป่วยได้รับการฟอกเลือด และควบคุมเรื่องอาหารได้ดีอาการกระดูกผุกร่อนนี้ก็จะลดน้อยลงได้



5.คันตามตัว
➤มีปริมาณสารฟอสฟอรัส สะสมมากในร่างกายสารตัวนี้ จะไปรวมตัวกับแคลเซียม
และซึมอยู่ใต้ผิวหนัง

➤ผิวหนัง ของผู้ป่วย มีภาวะแห้งจนเกินไปผู้ป่วยควรใช้โลชั่นเพิ่มความชุ่มชื้นแก่ผิวหลังอาบน้ำ
ทุกครั้ง




6.เป็นตะคริวบ่อย ๆ เกิดจากความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่ภายในร่างกาย เมื่อได้รับการฟอกเลือดอย่างสม่ำเสมอและเพียงพอ อาการดังกล่าวจะหายไป




7.อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เกิดได้จากผู้ป่วยมีโลหิตจางเกินไป ซึ่งมักจะมีอาการร่วมกับเป็นลมได้ง่าย
เมื่อสามารถแก้ไขภาวะโลหิตจางได้แล้ว อาการเหล่านี้จะหายไปเอง ยกเว้นผู้ป่วยรายนั้น มีภาวะของโรคหัวใจผิดปกติร่วมอยู่ด้วยซึ่งต้องปรึกษาแพทย์ทางด้านหัวใจต่อไป



8.ชาตามแขนขา ไม่มีแรง เกิดจากมีการคั่งของสารโปแตสเซียมภายในร่างกายสูง
บางคนมีอาการมากจนถึงขั้นหัวใจหยุดทำงาน เมื่อเริ่มมีอาการชา ไม่มีแรงตามแขนขา ควรรีบติดต่อโรงพยาบาลทันที



9.น้ำท่วมปอด เกิดจากมีน้ำส่วนเกินคั่งอยู่ที่ปอด จะมีอาการเหนื่อยหอบโดยเฉพาะเมื่อนอนราบ และมักมีอาการไอร่วมด้วย ผู้ป่วยที่มีอาการมาก ๆ จะไอจนถึงขั้นมีเสมหะเป็นฟองสีชมพู และเหนื่อยหอบมาก จนถึงขั้นทำให้เกิดภาวะหัวใจล้มเหลว จนเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เมื่อเกิดอาการเช่นนี้ ให้รีบติดต่อโรงพยาบาลโดยเร็ว เพื่อจะได้ทำให้การฟอกเลือดได้ทันท่วงที



ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้

#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันพุธที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

"สมุนไพร" สิ่งที่ต้องระวังในผู้ป่วยไต

สมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต


ต่อจากบทความที่แล้ว สมุนไพรต้องห้ามของผู้ป่วยโรคไต 4-7

4. การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร
การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร สามารถอธิบายได้ 2 รูปแบบ คือ 

➤ปฏิกิริยาทางเภสัชจลนศาสตร์ โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการดูดซึม การกระจายตัว เมแทบอลิซึมและการขับถ่ายยาออกจากร่างกาย ซึ่งทำให้ปริมาณของยาหรือสมุนไพรที่ออกฤทธิ์เพิ่มขึ้นหรือลดลง
➤ปฏิกิริยาทางเภสัชพลศาสตร์ โดยยาหรือสมุนไพรมีผลเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยาที่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะเป้าหมาย ทำให้ยาหรือสมุนไพรแสดงฤทธิ์เพิ่มขึ้น หรือลดลง
5. การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้สมุนไพรส่วนหนึ่งเกิดจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับชนิดของสมุนไพร เนื่องจากสมุนไพรบางชนิดมีลักษณะที่คล้ายคลึงกัน และมีความคล้ายคลึงกับพืชมีพิษบางอย่าง หากขาดความเชี่ยวชาญในการจำแนกชนิดของพืชสมุนไพรก็อาจนำมาซึ่งอันตรายต่อร่างกายได้จากการใช้สมุนไพรไม่ถูกชนิดได้ รวมทั้งการนำมาใช้โดยผิดวิธี 


6. การปนเปื้อนในสมุนไพร
การปนเปื้อนที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรไม่ว่าจะเป็นโลหะหนัก ยาฆ่าแมลง หรือเชื้อ จุลินทรีย์ต่างๆ ในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นสิ่งที่ไม่ควรเกิดขึ้น หรือหากมีก็ไม่ควรเกินปริมาณที่กำหนด เนื่องจากการปนเปื้อนของสารดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อร่างกายทั้งแบบเฉียบพลัน และสารบางอย่างอาจมีการสะสมและก่อให้เกิดอันตรายในระยะยาวตามมา

7. สมุนไพรที่มีการปลอมปน

"สมุนไพรหลายชนิดที่มีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง" จากการสุ่มตรวจสมุนไพรที่มีการกล่าวอ้างว่าสามารถรักษาโรคได้หลายชนิด หรือรักษาโรคได้หายรวดเร็วทันใจ หลายตัวอย่างจะพบการปนปลอมของสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา โดยเฉพาะ ยาสเตียรอยด์ที่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากใช้ไม่ถูกต้อง

จากการรวบรวมรายงานของการเกิดอันตรายจากการใช้สมุนไพรนี้พบว่าเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่มากนัก แต่ทำให้เกิดความตระหนักถึงอันตรายอันอาจเกิดได้จากการใช้สมุนไพร เนื่องจากการที่มีผลิตภัณฑ์สมุนไพรนั้นสามารถเลือกซื้อได้อย่างอิสระ การควบคุมไม่ค่อยเข้มงวดเท่าไร ถึงแม้จะเป็นสมุนไพรชนิดเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกัน เนื่องจากสถานที่เพาะปลูก ฤดูกาล ส่วนของพืชที่นำมาใช้ วิธีการเก็บเกี่ยว และกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนัก มีการปลอมปนสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา หรืออาจมีการนำสมุนไพรผิดชนิดทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ และพบว่าประชากรจำนวนหนึ่งมีการใช้สมุนไพรร่วมกับยารักษาโรคแผนปัจจุบัน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพรขึ้นได้

Credit:มหาวิทยาลัยมหิดล

ด้วยความห่วงใจจากเราคะ

ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้


#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney


คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันพุธที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

"สมุนไพร" สิ่งที่ต้องระวังในผู้ป่วยไต 1


สมุนไพรที่ต้องระวังในผู้ป่วยโรคไต


ปัจจุบันสมุนไพรเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตมากขึ้นในการใช้รักษาโรคหรือการใช้เป็นอาหารเสริม เนื่องจากสังคมได้ตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพร แต่หากมีการนำสมุนไพรมาใช้อย่างไม่ถูกต้อง ไม่ถูกวิธี สมุนไพรก็อาจจะก่อให้เกิดโทษต่อผู้ใช้ได้

อันตรายที่เกิดขึ้นจากการใช้สมุนไพร สามารถจำแนกได้เป็น 7 กลุ่ม สมุนไพร 1 ชนิดอาจทำให้เกิดอันตรายได้มากกว่า 1 กลุ่ม โดยข้อมูลบางส่วนมีหลักฐานยืนยันแน่นอน บางส่วนอิงข้อมูลจากการทดลอง (สัตว์ทดลอง และ/หรือ หลอดทดลอง) และบางส่วนก็มีเพียงกรณีศึกษาเท่านั้น อันตรายจากการใช้สมุนไพรจำแนกเป็น 7 กลุ่ม ดังนี้
➧สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
➧สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions)
➧สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
➧การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับสมุนไพร (Herb and drug reactions)
➧การใช้สมุนไพรผิดชนิด ผิดวิธี (Mistaken plants, Mistaken preparation)
➧การปนเปื้อนในสมุนไพร (Contamination)
➧สมุนไพรที่มีการปลอมปน (Adulterants)

1. สมุนไพรที่ทำให้เกิดปฏิกิริยาการแพ้ (Allergic reactions)
จากการสำรวจการใช้ “นมผึ้ง” ปี พ.ศ. 2536-2540 พบการเกิดปฏิกิริยาตอบสนองไวเกิน จากการได้รับนมผึ้งเกือบ 40 ราย มีอาการคือ อาการหืด อาการหลอดลมหดเกร็ง หลอดเลือดบวม ความดันโลหิตต่ำ เยื่อบุตาอักเสบ ผื่นคัน และเมื่อทำการทดสอบทางผิวหนัง (skin test) พบว่าเกิดปฏิกิริยาเป็นบวกกับนมผึ้ง สรุปได้ว่าอาจเกิดจากโปรตีนในนมผึ้งไปกระตุ้นแอนติบอดี (antibody) ชนิด IgE

2. สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษ (Toxic reactions
)
➧สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อตับ
ในประเทศไทยเคยมีรายงานในปี พ.ศ. 2542 ว่าใบขี้เหล็กซึ่งผลิตและจำหน่ายในรูปแบบยาเม็ด ทำให้การเกิดตับอักเสบเฉียบพลันอย่างน้อยในผู้ป่วย 9 รายที่รับประทาน ซึ่งระดับความรุนแรงของภาวะตับอักเสบมีตั้งแต่ไม่มีอาการไปจนถึงมีอาการอ่อนเพลีย คลื่นไส้อาเจียนและมีตัวเหลืองตาเหลือง สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาจึงมีมติให้ระงับการผลิตและเก็บยาสมุนไพรขี้เหล็กซึ่งเป็นสูตรยาเดี่ยวออกจากตลาด
➧สมุนไพรที่ทำให้เกิดความเป็นพิษต่อไต
มีรายงานการเกิดความเป็นพิษต่อไตจากการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรลดน้ำหนักที่มี aristolochic acid มีมากกว่าร้อยรายจากหลายประเทศ เช่น เบลเยียม สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สเปน และญี่ปุ่น ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่ระบุชื่อบนฉลากว่าผลิตจากสมุนไพรที่มีชื่อว่า Stephania tetrandra แต่จากการพิสูจน์เอกลักษณ์หลายผลิตภัณฑ์พบว่ามี Aristolochia fangchi ผสมอยู่ และวิเคราะห์พบ aristolochic acid ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดความผิดปกติที่ไต พยาธิสภาพที่พบจากการวิเคราะห์ชิ้นเนื้อเยื่อ คือ เนื้อไตมีสภาพเป็นพังผืด 
ผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะไตวายในระยะสุดท้ายจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนไตนอกจากนี้ 
ในผู้ป่วยโรคไตควรระวังการใช้ ชะเอมเทศ และ มะขามแขก เพราะอาจมีผลทำให้เกิดภาวะโปแตสเซียมต่ำในเลือด และ น้ำลูกยออาจให้เกิดภาวะโปแตสเซียมสูงในเลือด

3. สมุนไพรที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ (Adverse effects)
การใช้สมุนไพร อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง หรือฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ได้ อาการไม่พึงประสงค์ซึ่งสัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ หรือไม่สัมพันธ์กับฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่ต้องการ




⏭บทความหน้ามาต่อกับ อันตรายจากการใช้สมุนไพร กลุ่มที่4-7 ครับ

Credit:มหาวิทยาลัยมหิดล



ด้วยความห่วงใจจากเราคะ
ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้
#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney






วันอังคารที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

"ผัก" ที่ไม่ถูก กับ "โรคไต"

"ผัก" ที่ไม่ถูกกับ "โรคไต" 

เนื่องด้วยช่วงนี้คนหันมาทานผักกันมากขึ้น เพราะผักนั้นมีประโยชน์แต่สมัยนี้สารปนเปื้อนก็เยอะการเลือกทานผักจึงต้องคัดสรรมากขึ้น แถมคนเป็นโรคไตยังต้องระวังผักบางชนิดอีกด้วย ทำไมต้องระวังเพราะว่าผักบางชนิดจะมีกรดอ็อกซาริกปริมาณสูง ที่ส่งผลให้เกิดเป็นก้อนนิ่วที่ไต และมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดเอว ปัสสาวะน้อย 

1.มันสำปะหลัง 


2.โกฐน้ำเต้า


3.ผักโขม 


4.ผักแพว


5.ปวยเล้ง

6.มะเฟืองเปรี้ยว


7.ใบชะพลู 


8.แครอท


9.หัวไชท้าว



10.ใบยอ




ด้วยความห่วงใจจากเราคะ
ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้
#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

3 ค่าไต สำคัญที่ควรรู้


3 ค่าไต สำคัญที่ควรรู้ ได้แก่





1. Creatinin >ยิ่งน้อย ยิ่งดี คืออะไร?
ค่าครีเอตินิน (Creatinin) เป็นการวัดค่าการทำงานของไต โดย ครีเอตินิน เกิดจาก การใช้กล้ามเนื้อในชีวิตประจำวันเกิดขึ้น ทุกวันในปริมาณเท่าๆ กันทุกวัน ซึ่งถูกขับถ่ายออกผ่านไตแต่หากไตทำงานผิดปกติ การกำจัดสารครีเอตินินจะลดลง ปริมาณครีเอตินินในเลือดจะสูงขึ้นนั้นเอง

2. GFR > ยิ่งมาก ยิ่งดี คืออะไร??ค่า จีเอฟอาร์ (GFR) คือ ปริมาณเลือดที่ไหลผ่านตังกรองของไต ในหนึ่งนาทีบอกการทำงานของไตที่ดีที่สุดคำนวณจากค่า ครีเอตินินโดยเอาไปคำนวณร่วมกับ....
อายุ เพศ และเผ่าพันธ์ ของแต่ละคนทำให้ทราบว่า โรคไตเรื้อรัง ของท่าน "อยู่ในระยะใด??"

3. ค่า BUN คืออะไร??สภาวะการทำงานของไตอย่างหยาบและการกรองของกรวยไต รวมทั้งการทำหน้าที่ของตับ

ค่า BUN และ Creatinine หรือที่มักจะเขียนย่อๆ ว่า Bun, Cr
การแปลผลค่า BUN และ Creatinine นั้นค่อนข้างซับซ้อน ดังนั้นคนไข้ทั่วๆ ไปจะไม่ค่อยเข้าใจว่ามันคือค่าอะไร บางคนจึงเรียกติดปากด้วยเสียงอ่านแบบตรงตัวว่า ไปเจาะดูค่าบัน (BUN) มา ทำให้ไปนึกถึงพวกขนมปังอะไรแทน ซึ่งยิ่งฟังยิ่งงงว่า ไอ้ขนมปังมันไปเกี่ยวกับเรื่องไตได้ยังไง หมอจึงมักจะบอกสั้นๆ ง่ายๆ ว่า  ค่า BUN และ Cr คือค่าไต ถ้าค่าไตสูงกว่าปกติแสดงว่าไตไม่ดี

จริงๆ แล้วค่า BUN สูงไม่ได้ หมายความว่า คนๆ นั้นจะเป็นโรคไตเสมอไป แต่ยังมีสาเหตุอันหลากหลาย ที่อาจทำให้ค่า BUN ขึ้นได้

วงการแพทย์จึงต้องมีการคำนวณเพื่อจำแนกดูว่าคนป่วยน่าจะมีค่า BUN สูงเนื่องมาจากภาวะไตเสื่อมหรือไม่ โดยเอาค่า BUN ตั้ง หารด้วย Cr 

ดังสูตรต่อไปนี้
BUN > 20 , Cr > 1.0 ในคนหนุ่มสาว
Cr > 1.5 ในคนสูงอายุ 



เครดิต ข้อมูล : เขียนโดย ทนพ.วิรุฬห์ จิรฎฐิติกาล
วันเสาร์ที่ 07 กรกฏาคม 2007
เวลา 09:54 น.

ด้วยความห่วงใจจากเราคะ
ไตเสื่อม ฟื้นฟูไต บำรุงได้
#umiบำรุงไต #เพิ่มภูมิต้านทาน #สุขภาพดี

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife