วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ผลไม้ บำรุง ไต

ผลไม้บำรุงไต

เนื่องจากผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำจะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด ช่วยลดสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ 


        แอปเปิ้ลเขียว                                                    แตงโม                 



                                                
           แครนเบอร์รี่                                                   【มะม่วงดิบ



                 【มังคุด                                                        ชมพู่  







นอกจากนี้ยังมีอาหารธรรมชาติที่ดีมีประโยชน์และปลอดภัยต่อกระบวนการทำงานของไตอีกด้วย อาทิ พืชผักต่างๆ เช่น แครอด หัวหอม ดอกกะหล่ำ กระเทียม และอาหารจำพวกเนื้อปลา อาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต หรืออาหารจำพวกแป้ง ธัญพืช ถั่วเมล็ดแห้ง ข้าวจ้าว ข้าวสาลี ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวกล้อง ทุกชนิด ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ เพื่อเป็นการควบคุมโปรตีนในร่างกายไม่ให้มากเกินไป




ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

"โซเดี่ยม" อันตรายที่ซ่อนในความเค็ม

โซเดี่ยม อันตรายที่ซ่อนในความเค็ม


น้ำปลา ผงชูรส ซอสซีอิ้วปรุงรส ขนมถุงไม่เพียงแต่จะอุดมไปด้วยพลังงานและไขมัน ยังแฝงมาด้วยเกลือหรือโซเดี่ยมปริมาณมากมาย จนต้องยกให้เป็นอันตรายที่ซ่อนในความเค็มนั้น ส่งผลต่ออวัยวะอย่าง ไต ของเราอย่างไร

โซเดียมคืออะไร
โซเดียมเป็นสารอาหารที่สำคัญในตระกูลเกลือแร่ โซเดียมจะถูกดูดซึมได้ตลอดทางเดินอาหาร น้อยที่สุดที่กระเพาะอาหาร และมากที่สุดที่ลำไส้เล็กส่วนกลาง โซเดียมยังช่วยรักษา ความเป็นกรดและด่างของร่างกาย ช่วยนำซูโครสและกรดอะมิโน ไปเลี้ยงร่างกาย




โซเดียมมีความสัมพันธ์กับไตอย่างไร
ไตมีหน้าที่ขจัดของเสีย ยา สารพิษที่ละลายในน้ำออกทางปัสสาวะ
ดูดซึมและเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย
รักษาปริมาณน้ำในร่างกาย ระบายน้ำส่วนที่ร่างกายไม่ต้องการออกจากร่างกาย
รักษาปริมาณของโซเดียมในยามที่ร่างกายขาดโซเดียม ระบายโซเดียมที่เกินออกทางปัสสาวะ

ถ้าไตปกติจึงไม่มีอันตรายจากโซเดียมคั่งค้าง 
ไตมีหน้าที่ขับโซเดียมส่วนเกินออกจากร่างกาย โซเดียมจะถูกขับถ่ายออกทางปัสสาวะ บางส่วนจะออกมาทางอุจจาระและเหงื่อ 

เมื่อสมรรถภาพของไตเสื่อมลง 
การคั่งของของเสียจะเกิดขึ้น รวมทั้งไตไม่สามารถขับโซเดียมส่วนเกินออกได้ ทำให้โซเดียมคั่งอยู่ในเลือด ทำให้ผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องลดการบริโภคอาหารที่มีเกลือโซเดียมน้อยลง
คนปกติมีความต้องการโซเดียมประมาณ 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน 
เราได้โซเดียมจากอาหารเกลือแกง น้ำปลา ผงชูรส ซอสซีอิ้วปรุงรส กะปิ อาหารหมักดอง ผัก-ผลไม้ดอง ไข่เค็ม ปลาเค็ม ฯลฯ การรับประทานขนมถุงที่มีเกลือโซเดียมในปริมาณมาก จะทำให้ร่างกายได้รับโซเดียมเพิ่มมากขึ้นจากอาหารปกติ  ซึ่งจะทำให้ไตถูกทำลายมากขึ้น


ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife

วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การเตรียมความพร้อมปลูกถ่ายไต

การเตรียมความพร้อมปลูกถ่ายไต 


➤ผู้ที่จะปลูกถ่ายไต ควรเตรียมตัวอย่างไร

ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังในระยะสุดท้าย ระหว่างที่รอการปลูกถ่ายไตต้องเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะไตที่รอคอยนั้น อาจจะมาเมื่อใดก็ได้โดยที่เราจะไม่คาดคิด ความพร้อมทางร่างกายนั้นต้องตรวจเช็คอวัยวะทุกระบบในตัวว่าแข็งแรงพอที่จะทนการผ่าตัดได้




ระบบต่างๆของร่างกายที่ต้องตรวจเช็ค คือ ระบบหัวใจ / ตับ / ปอด / สมอง / ระบบเส้นเลือด และ
ความดันโลหิต

➧หัวใจที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ควรได้รับการแก้ไขก่อนที่จะผ่าตัดเปลี่ยนไต



➧ตับที่เป็นไวรัสตับอักเสบชนิด บี/ ซี ที่ยังไม่สงบ ควรได้รับการรักษาให้เรียบร้อยก่อน มิฉะนั้นแล้วหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต เชื้อไวรัสอาจกำเริบและเพื่มจำนวนมากเป็นทวี





➧ระบบเลือด ควรดูเกล็ดเลือดและตรวจดูการแข็งตัวของเลือด เพราะถ้าเลือดหยุดยากอาจจะทำให้เสียเลือดมากในระหว่างการผ่าตัด ควรแก้ไขก่อนทำการผ่าตัด





➤การทำแม็ชชิ่ง (Matching ) คืออะไร 
การทำแม็ชชิ่ง คือการเจาะเลือดของผู้รอรับไตมาผสมกับเซลล์ของผู้บริจาคไต เพื่อดูว่าเข้ากันได้หรือไม่

➤การทำแม็ชชิ่งมีความสำคัญอย่างไร 
การตรวจนี่มีความสำคัญเป็นอันมาก เพราะถ้ามีปฏกริยาขึ้นแสดงว่าเนื้อเยื่อเข้ากันไม่ได้ จะไม่สามารถทำการปลูกถ่ายไตได้ มิฉนั้นจะเกิดผลรุนแรงต่อต้านเป็นอันตรายต่อชีวิตได้

➤ต้องทำแม็ชชิ่งทุกครั้งก่อนที่จะมีการปลูกถ่ายไตใช่หรือไม่ 
การทำแม็ชชิ่งจำเป็นต้องทำทุกครั้งที่จะมีการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ เพื่อตรวจสอบความเข้ากันได้ก่อน

➤การรอปลูกถ่ายไต รอนานหรือไม่ นานเท่าใด 
การรอปลูกถ่ายไต ขึ้นอยู่กับที่ว่าคือผู้บริจาคไตนั้นมีเนื้อเยื่อที่คล้ายคลึงกับผู้ป่วยที่รอรับมากน้อยแค่ไหน บางท่านอาจรอเพียงไม่กี่เดือน ส่วนบางท่านอาจต้องรอเป็นปีๆ



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

คลิ๊กที่ลิงค์เพื่อแอดไลน์อัตโนมัติรับข้อมูลสุขภาพดีๆได้เลยค่ะ line://ti/p/@gelhappylife