วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เคล็ดลับ การเลือก อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไต

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไตควรเลือกอย่างไร?

  เคล็ดลับการเลือกอาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ถ้าพูดถึงโรคไตเชื่อว่าในปัจจุบันเป็นยุคที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้กันมาก เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกายในทุก ๆ วัน ซึ่งการรับประทานอาหารบางชนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต โดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อการทำงานของไต เช่น อาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอลมาก อาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ไตทำงานหนักมากกว่าปกติ และส่งผลให้ไตเสื่อมในระยะยาวได้ อาหารที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำ ถ้าหากไม่มีการควบคุม ให้เหมาะสม ก็สามารถส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของไตได้โดยที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้นควรหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินสักนิด เพื่อสุขภาพที่ดี และหลีกไกลจากโรคร้ายชนิดนี้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยเช่นกัน เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วควรใส่ใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ มาดูกันว่าอาหารสําหรับคนเป็นโรคไตนั้นมีอะไรกันบ้าง

  ผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร การเลือกรับประทานจะใช้วิธีปรุงให้สุก หรือทานแบบสด ๆ ก็ได้ แนะนำให้เป็นผักต้มจะดีที่สุด และที่สำคัญควรจะเลือกรับประทานผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วงอก




  ผลไม้ ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ควรเลือกรับประทานแบบสด ๆ และที่สำคัญควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม ลองกอง เงาะ มังคุด การเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้





  ปลาและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากปลา ควรบริโภคเนื้อปลาแทนการบริโภคเนื้อสัตว์อื่น ๆ เนื่องจากในเนื้อปลานั้นจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวที่น้อยกว่าในเนื้อสัตว์ใหญ่จำพวก เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ เป็ด เป็นต้น นอกจากนี้ที่สำคัญปลายังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA และ DHA) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากการอุดตันของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย




  คาร์โบไฮเดรต หรืออาหารจำพวกแป้ง ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตในรูปที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวกล้องทุกชนิด ข้าวสาลี และที่สำคัญควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป เป็นการควบคุมโปรตีนในร่างกายไม่ให้มากจนเกินไป ยกเว้นอาหารพวกแป้งบางชนิดที่เกือบจะไม่มีโปรตีน เช่น แป้งข้าวโพด แป้งมัน วุ้นเส้น สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม รวมมิตร ซึ่งอาหารเหล่านี้สามารถกินได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องคิดคำนวณปริมาณโปรตีน



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น