วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การดูแลตนเองหลังจากฟอกไต

การดูแลตนเองหลังจากล้างไต

หมั่นสังเกตการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ จำนวนครั้ง สี สังเกตอาการท้องผูก เพราะอาการท้องผูกจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดไส้เลื่อนหรือการรั่วซึมของน้ำยา


ควรชั่งน้ำหนักทุกวัน ไม่ควรให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.5-1 Kg/วัน หากชั่งน้ำหนักขณะที่มีน้ำยาล้างไตค้างท้องอยู่ให้ลบน้ำหนักน้ำยาล้างไตออกด้วย และควรสังเกตอาการบวมตามร่างกายส่วนต่างๆ 



สังเกตและทำความสะอาดของช่องทางออกของท่อไตทุกวัน และสังเกตบริเวณแผลว่ามีคราบเลือดและหนองหรือไม่ 



สังเกตความขุ่นและสีของน้ำยาล้างไต หากมีความขุ่นหรือมีตะกอนควรมาพบแพทย์



ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม 




รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง และเมื่อพบการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์






ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

"ความเค็ม" สาเหตุของโรคไต

ความเค็มสาเหตุของโรคไต 

ความเค็มกับโรคไต เป็นสิ่งคู่กันจริงหรือ? จากอดีตถึงปัจจุบันที่เราต่างเชื่อว่าการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน คือสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคไต ซึ่งผลกระทบจากความเค็มที่รับประทานเข้าไปมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยาวนั้น เราสามารถอธิบายให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ความเค็มทำให้เกิดการคั่งของเกลือในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับเกลือมาเกินไป ก็จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือรวมถึงน้ำบางส่วน จึงทำให้รู้สึกว่าตัวบวม เพราะไตไม่สามารถกำจัดน้ำและเกลือได้ทัน เป็นสาเหตุทำให้ไตทำงานหนัก กลายเป็นโรคไตเรื้อรังตามมา ซึ่งการคั่งค้างของเกลือจะพบได้ทั่วร่างกาย ในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ขา และแขน เป็นต้น 



2. ความเค็มทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ปริมาณของเกลือโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากเกินความต้องการ นำมาซึ่งภาวะ “ความดันเลือดสูง” พบได้มากในกลุ่มสูงอายุ หากรับประทานอาหารเค็มจัดบ่อยๆ จะทำให้ความดันโลหิตที่สูงไปกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือดในจุดต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ ไตจึงต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออก ลดความดันในเลือดให้น้อยลงนั่นเอง 



3. เกิดความดันในหน่วยไตมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ความดันเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกายเท่านั้นที่สูงขึ้น ทว่ายังรวมไปถึงความดันภายในหน่วยไตที่เกิดจากการคั่งของน้ำ และทำให้ไตต้องทำงานหนักเพื่อกรองเอาโซเดียมส่วนเกินออกไปให้ได้มากที่สุด ผลกระทบตามมาคือความดันในหน่วยไตสูงขึ้น พบโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น และทำให้ความดันในหน่วยไตสูง เป็นเหตุให้ไตเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ผลกระทบของโซเดียมต่อร่างกาย หากได้รับในอัตราส่วนที่เพียงพอ ก็จะถือว่าเป็นประโยชน์ แต่หากได้รับมากหรือน้อยเกินไปย่อมเกิดโทษ ส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก และตามมาด้วยโรคไตเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคต



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไตวาย ไม่ทันรู้ตัว

" ไตวาย ไม่ทันรู้ตัว "

ผู้ป่วยโรคไต มักพบเจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ
 ไตวายเกิดจากไตสูญเสียการทำงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่งผลให้การควบคุมสมดุลของเสีย ในร่างกายเกิดการสูญเสีย

โรคไตวาย มี 2 รูปแบบ

1.โรคไตวายเรื้อรัง 
คือภาวะเนื้อเยื่อไตเสื่อมสภาพ หรือตายลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งครบทั้งสอง เรียกว่า ภาวะเนื้อไตเสื่อมสภาพแบบถาวร ไม่หาย ไม่กลับคืนสภาพ ต้องฟอกเลือด ล้างไต ปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตและมีชีวิตอยู่ ส่วนมากมักเกิดจากโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมันสูง ความดัน ด้วยตัวโรคเองก็ส่งผลต่อไตโดยตรง ในเรื่องการไหลเวียนของระบบเลือด ไปเลี้ยงเซลล์ไต ซึ่งมีอยู่เป็นล้านๆเซลล์
ประกอบด้วยการทานยาเคมีเพื่อดูแล โรคเหล่านั้นมาเป็นเวลานานๆ แล้วไม่ดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสารเคมีต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้ไตทำงานหนักต่อเนื่องเช่นกันจึงทำให้เกิดสภาวะ ไตวาย ฉับพลันได้
ทางที่ดีเราควรดูแลค่าเลือด ของโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ให้
เร็วที่สุด เพื่อลดการทานยาเคมีต่อเนื่อง




2.โรคไตวายแบบเฉียบพลัน
คือภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่ไปชั่วคราว เนื่องจากมีโรคบางอย่างเกิดขึ้น  เช่น ภาวะช็อค เมื่อหาสาเหตุและแก้ปัญหาได้ ส่วนใหญ่จะกลับคืนสู่สภาวะปกติกรณีแบบนี้คุณหมอมักจะทำการ ฟอกไตฉุกเฉินผ่านต้นคอ หรือหน้าอกเมื่ออาการกลับมาเป็นปกติแล้ว คนป่วยก็ควรจะดูแลบำรุงไตให้ต่อเนื่องจะดีที่สุด 
รวมถึงการดูแลโรคประจำตัว ที่ทำให้เกิดสภาวะไตวายด้วย

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 


ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หน้าที่ การทำงานของไต

การทำงานของไต


การทำงานของไตจะแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน
ขั้นแรกเลือดที่เข้าไปที่ไตจะกรองโดยหน่วยไตที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า glomeruli ซึ่งจะกรองเอาของเสียออกไป ส่วนเม็ดเลือดแดง โปรตีน จะไม่ออกนอกเส้นเลือด
การทำงานที่ท่อไตซึ่งจะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ และเกลือแร่ที่สำคัญกลับเข้าสู่กระแสเลือด


ไต มีหน้าที่อะไร

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสียไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2 ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย



1.กำจัดของเสีย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป เช่นพวกเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีนซึ่งจะถูกย่อยสลายเป็นยูเรีย นอกจากนั้นเนื้อเยื่อเราก็มีการสร้างและสลายตามธรรมชาติกล้ามเนื้อที่สลายก็ทำให้เกิด ครีเอดินิน ซึ่งหากเกิดการคั่งก็จะทำให้เกิดอาการซึม มึนงง เบื่ออาหาร อาเจียน หมดสติ

2.ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้ สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ ฟอสเฟต โปรตีน แคลเซี่ยม

3.รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกายเช่นดื่มน้ำมากไป ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ แต่ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำเช่นท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือมีเลือดออกมาก ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกายโดยการดูดซึมน้ำกลับทำให้ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น

4.รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพทำให้ไม่สามารถขับเกลือส่วนเกิน ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป และอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด

5.รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ปกติจะไม่มีกรดคั่ง ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด หากมีการคั่งของกรดจะทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และหายใจหอบ


6.ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำและเกลือรวมถึงสารบางชนิดผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง ถ้าความดันโลหิตสูงมากทำให้หัวใจทำงานหนักหรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือ แตกเป็นอัมพฤกษและอัมพาตได้


7.ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป ฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่

Erythropoietin ทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง

Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต

vitamin D ทำหน้าที่สร้างกระดูก

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ค่าที่ควรรู้ เมื่อ ไตเสื่อม

อาการของโรคไตเรื้อรัง


ผู้ป่วยโรคไตในระยะเริ่มแรก หลายท่านอาจไม่มีอาการรุนแรง จนกระทั่งโรคมาถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อาจมีอาการดังต่อไปนี้

➥ อ่อนแรง

➥ คิดอะไรไม่ค่อยออก

➥ เบื่ออาหาร

➥ นอนไม่หลับ

➥ ผิวแห้ง คัน

➥ กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน

➥ เท้าและข้อเท้าบวม

➥ ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า

➥ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน








การตรวจเมื่ออาจเป็นโรคไตเรื้อรัง แพทย์จะทำการตรวจที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการรักษา 

โดยจะตรวจดังต่อไปนี้

➥ คำนวณค่าการทำงานของไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบ่งบอกว่าไตยังทำงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้แพทย์ทราบได้ถึงระยะของโรคไตและช่วยในการวางแผนการรักษา

➥ ทำการตรวจอัลตร้าซาวนด์หรือ CT scan เพื่อถ่ายภาพไต และ ทางเดินปัสสาวะ เพื่อพิจารณาขนาดของไต ตรวจหาก้อนนิ่วหรือเนื้องอก และดูว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโครงสร้างของไตและทางเดินปัสสาวะหรือไม่

ตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ ซึ่งจะทำในบางกรณีเท่านั้นในการตรวจดูประเภทของโรคไตที่เฉพาะเจาะจง ดูว่าไตถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด และ ช่วยในการวางแผนการรักษา ในการตัดชิ้นเนื้อนั้น แพทย์จะนำเนื้อเยื่อเล็กๆ ของไตส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่อ อาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ 
#ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน

cr.Bumrungrad International

🍏🍏🍏🍏🍏

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เมื่อ หมอบอกว่า ไตเสื่อม...ไตเสื่อม คือ อะไร??

ไต ไต ไต ไต ไต 
👷👷👷👷👷
เมื่อหมอบอกว่าไตวาย ไตเสื่อม❗️❗️❗️❗️
คือภาวะที่การทำงานของไตเสียไป 
จนทำให้มีการสะสมของของเสียในร่างกาย 
ซึ่งจะตรวจได้จากเลือด คือค่า BUN(บียูเอ็น) และ Creatinine(ครีเอตินิน) ซึ่งจะบอกถึงโรคไตได้คร่าว

การดูว่าไตเสื่อมหรือไม่ 
ต้องนำค่า Creatinine มาคำนวณเป็น Glomerular filtration rate หรือ 
GFR ซึ่งบ่งบอกถึงหน้าที่ของไต มีสูตรดังนี้

Glomerular filtration rate 
= (140 - อายุ) x น้ำหนัก(กก.) 72 x ค่า creatinine

ถ้าคำนวณแล้วค่าที่ได้น้อยกว่าปกติ แปลว่าไตเสื่อมหรือสูญเสียการทำงาน โดยแบ่งเป็นระดับดังนี้

1.GFR > 90 ขึ้นไป = หน้าที่ของไตเป็นปกติ
2. GFR 60-90 = ไตเริ่มเสื่อม
3. GFR 30-60 = เป็นโรคไตระดับปานกลาง
4. GFR 15-30 = เป็นโรคไตขั้นรุนแรง
5. GFR<15 = ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย



การคำนวณหาค่า Glomerular filtration rate

เพื่อประเมินโรคไตเพียงคร่าว เท่านั้น ถ้าไม่มั่นใจหรือมีอาการสงสัยโรคไตดังที่กล่าวไว้ข้างต้น แม้จะคำนวณได้ปกติ ก็ต้องพบแพทย์เพื่อให้ความเห็น

และถ้าอายุเกิน 40 ปี ค่า GFR จะลดลงเป็นปกติ อาจคำนวณได้น้อยลง

ค่าปกติของ Creatinine

ผู้ชาย 0.7- 1.3 mg/dL
ผู้หญิง 0.6- 1.1 mg/dL

ผู้หญิงจะมีค่า Creatinine น้อยกว่าผู้ชาย
เนื่องจากกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย



ไต เป็นอวัยวะ หนึ่ง ที่สำคัญของร่างกาย
ทำหน้าที่หลักคือ กรองของเสียที่ร่างกายใช้ประโยชน์ไม่ได้ และขับออกมาในรูปปัสสาวะ

"เราเชื่อว่าสุขภาพที่ดี
         เริ่มต้นจากตัวคุณก่อน"
ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

ยา กับ โรคไตเสื่อม

ยากับโรคไต
  

  เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่ายานั้นมีคุณค่ามหาศาล ถ้าเราใช้ให้ถูกวิธี จะใช้บำบัดโรคได้หลายชนิด โดยไม่มีโทษภัยหรือมีน้อย แต่บ้านเราการที่ประชาชนมีเสรีในการซื้อยาใช้เองได้สารพัดชนิด โดยที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเท่าใดนัก อาจก่อให้เกิดอันตรายจากยาได้ง่าย มีคนจำนวนมากมายที่ต้องตายไปเนื่องจากใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง



  ไต เป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ขับถ่ายของเสียและสารต่าง ๆ ที่ร่างกายไม่ต้องการออกไป โดยขับถ่ายออกมาเป็นปัสสาวะ โดยปกติไตเป็นอวัยวะที่ถูกทำลายด้วยสารเคมีได้ง่ายดายมาก ถ้าไตถูกทำลายให้เสียไป ความสามารถในการขับถ่ายจะเสียไปด้วย เราจะมีของเสียสะสมในร่างกายเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งจะทำให้ร่างกายทรุดโทรมอวัยวะต่าง ๆ ทำงานไม่เต็มที่ และอาจต้องตายไปในที่สุด


ยาเป็นพิษต่อไตได้อย่างไร

  ยาที่เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะเป็นทางไหนก็ตามเช่น กิน ฉีด สูดดม หรือวิธีอื่น ๆ เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดแล้ว ร่างกายจะถือเป็นของแปลกปลอมที่ต้องมีการกำจัดออก บางทียาอาจถูกขับออกจากร่างกายในรูปเดิมโดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงเลย หรืออาจถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ แล้วจึงขับออกจากร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกขับออกทางไต
  ด้วยเหตุนี้เอง ไตจึงเป็นอวัยวะที่มีโอกาสที่จะได้รับพิษจากยาได้มากมียาหลายตัวที่เป็นพิษต่อไตโดยตรง พิษของยาต่อไตก็มีในแบบต่าง ๆ กัน บางชนิดทำให้ไตทำงานลดลง บางชนิดตกเป็นผลึกในไต และบางชนิดทำให้เนื้อไตเสียไป พิษที่เกิดนี้อาจเป็นอย่างถาวร คือ ถึงแม้จะเลิกกินยาแล้วก็ไม่หาย เป็นจนตายไปเลย
นอกจากนี้ในคนไข้ที่ไตเสื่อมหรือไตพิการ คือ ไตที่ทำงานได้ไม่เต็มที่ เวลากินยายิ่งต้องใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจทำให้ไตที่พิการนั้นมีอาการกำเริบมากขึ้น ดังนั้นคนที่เป็นโรคไต ถ้าจำเป็นต้องใช้ยาจะต้องลดขนาดและช่วงเวลาในการกินยาให้เหมาะสม


ยาที่ควรระวัง



กลุ่มยาแก้ปวดลดไข้แก้ปวดเมื่อย 



นิยมกินแก้ปวดหัว ตัวร้อน แก้ปวดเมื่อยและเพิ่มกำลังวังชา ถ้าไม่ได้กินจะรู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง ทำงานไม่ไหว โดยหารู้ไม่ว่ายาตัวนี้ ถ้ากินเป็นเวลานาน ๆ ถึงแม้จะใช้ในขนาดปกติ ก็มีโอกาสจะเกิดพิษต่อไตได้


กลุ่มซัลฟา

ยาซัลฟาใช้รักษาอาการอักเสบจากเชื้อโรค เช่น เจ็บในคอ เป็นฝีพุพองหรือเป็นหนอง แทบทุกตัวจะตกตะกอนในปัสสาวะและเป็นผลึกในไตและท่อปัสสาวะทำให้เกิดระคายเคืองมาก และกีดขวางทางเดินปัสสาวะ จะเริ่มด้วยมีอาการปวดท้องบริเวณไต เวลาถ่ายจะมีเกล็ดของยาปนออกมากับปัสสาวะ เวลาถ่ายจะแสบ ต่อมา ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือดถ่ายลำบาก 


ยาปฏิชีวนะกลุ่มเตตร้าซัยคลิน




ยากลุ่มนี้เป็นยาที่เราใช้กินฆ่าเชื้อเวลาเจ็บคอ หรือเวลาเป็นแผล ฝี หนองนั่นเอง ยากลุ่มนี้มีหลายชนิดมาก ส่วนใหญ่จะทำเป็นรูปแคปซูล ยากลุ่มนี้มักกินพร่ำเพรื่อเป็นยาครอบจักรวาล

ยาปฏิชีวนะกลุ่มสเตร๊ปโตมัยซิน



ยากลุ่มนี้ต้องหลีกเลี่ยง ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคไต สเตร๊ปโตมัยซิน ในขนาดปกติไม่ค่อยทำให้เกิดพิษต่อไต และเมื่อหยุดยาอาการพิษก็หายไป แต่ต้องระวังในขนาดสูง ๆ อาจเกิดพิษได้ส่วนกาน่ามัยซิน และเจนต้ามัยซิน จะเกิดพิษได้รุนแรงกว่า ทำให้เกิดเนื้อไตวาย ถ่ายปัสสาวะไม่ออกเกิดของเสียคั่งในเลือดมาก

พึงจำไว้อย่ากินยาพร่ำเพรื่อ



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney


วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

เคล็ดลับ การเลือก อาหารสำหรับ ผู้ป่วยไต

อาหารสําหรับคนเป็นโรคไตควรเลือกอย่างไร?

  เคล็ดลับการเลือกอาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ถ้าพูดถึงโรคไตเชื่อว่าในปัจจุบันเป็นยุคที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้กันมาก เนื่องจากอาหารที่เรารับประทานเข้าสู่ร่างกายในทุก ๆ วัน ซึ่งการรับประทานอาหารบางชนิดมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไต โดยที่เราเองอาจไม่รู้ตัวว่าสิ่งที่รับประทานเข้าไปนั้น ส่งผลต่อการทำงานของไต เช่น อาหารที่มีไขมัน คอเลสเตอรอลมาก อาหารที่มีโซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัสในปริมาณที่สูงเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้ไตทำงานหนักมากกว่าปกติ และส่งผลให้ไตเสื่อมในระยะยาวได้ อาหารที่เรารับประทานอยู่เป็นประจำ ถ้าหากไม่มีการควบคุม ให้เหมาะสม ก็สามารถส่งผลเสียต่อระบบการทำงานของไตได้โดยที่เราคาดไม่ถึง ดังนั้นควรหันมาใส่ใจเรื่องอาหารการกินสักนิด เพื่อสุขภาพที่ดี และหลีกไกลจากโรคร้ายชนิดนี้ แต่สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคไตอยู่แล้ว ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยเช่นกัน เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้อง อาจเป็นอันตรายแก่ชีวิตได้ เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วควรใส่ใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องอาหารสําหรับคนเป็นโรคไต ต้องใส่ใจเป็นพิเศษ มาดูกันว่าอาหารสําหรับคนเป็นโรคไตนั้นมีอะไรกันบ้าง

  ผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร การเลือกรับประทานจะใช้วิธีปรุงให้สุก หรือทานแบบสด ๆ ก็ได้ แนะนำให้เป็นผักต้มจะดีที่สุด และที่สำคัญควรจะเลือกรับประทานผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ แตงกวา บวบเหลี่ยม เห็ดหูหนู ฟักเขียว แฟง ผักกาดขาว ผักกาดหอม ถั่วงอก




  ผลไม้ ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน ใยอาหาร และอื่น ๆ อีกมากมาย ควรเลือกรับประทานแบบสด ๆ และที่สำคัญควรเลือกรับประทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ เช่น ชมพู่ องุ่นเขียว แตงโม ลองกอง เงาะ มังคุด การเลือกรับประทานผักและผลไม้ที่มีโพแทสเซียมต่ำ จะช่วยลดการคั่งของโพแทสเซียมในเลือด และช่วยรักษาสภาวะน้ำในร่างกายให้อยู่ในระดับปกติ ลดภาวะบวมน้ำ รวมทั้งป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้





  ปลาและผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากปลา ควรบริโภคเนื้อปลาแทนการบริโภคเนื้อสัตว์อื่น ๆ เนื่องจากในเนื้อปลานั้นจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวที่น้อยกว่าในเนื้อสัตว์ใหญ่จำพวก เนื้อวัว เนื้อหมู ไก่ เป็ด เป็นต้น นอกจากนี้ที่สำคัญปลายังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 (EPA และ DHA) ที่ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล เพิ่มความยืดหยุ่นให้กับหลอดเลือด ทำให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความเสี่ยงจากการอุดตันของหลอดเลือดได้เป็นอย่างดีอีกด้วย




  คาร์โบไฮเดรต หรืออาหารจำพวกแป้ง ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตในรูปที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวเจ้า ข้าวไรย์ ข้าวกล้องทุกชนิด ข้าวสาลี และที่สำคัญควรกินในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากจนเกินไป เป็นการควบคุมโปรตีนในร่างกายไม่ให้มากจนเกินไป ยกเว้นอาหารพวกแป้งบางชนิดที่เกือบจะไม่มีโปรตีน เช่น แป้งข้าวโพด แป้งมัน วุ้นเส้น สาคู ลอดช่องสิงคโปร์ ซ่าหริ่ม รวมมิตร ซึ่งอาหารเหล่านี้สามารถกินได้อย่างปลอดภัย โดยไม่ต้องคิดคำนวณปริมาณโปรตีน



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney



วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

7 วิธีห่างไกล โรคไต

7 วิธีห่างไกลโรคไต

  โดยทั่วไปจะไม่มีอาการบอก ให้รู้ล่วงหน้า จึงเป็นโรคที่น่ากลัว เป็นเพชฌฆาตมืดที่คุกคามชีวิตผู้คนอย่างเลือดเย็น 

  เปรียบเสมือนเราพา ทหารไปรบ รบเสียกำลังพลไปไม่กี่คน จะไม่รู้สึกว่าเสีย ต่อเมื่อการสูญเสียบ่อยครั้งหรือเสียทีละมากๆ จึงจะรู้สึกว่ากำลังพลร่อยหรอลง หรือสู้รบเสียทีละมากๆ จึงจะใจหายว่าเราได้เสียกำลังพลไปมาก 

  เช่นเดียวกัน หน่วยกรองไตที่เสียหายไปเล็กน้อย จะไม่รู้สึกอะไร ต่อเมื่อเสียหายมากขึ้นเรื่อยๆ หรือเสียหายมากๆ อย่างเฉียบพลันจึงจะปรากฏอาการให้เห็น ถึงตอนนั้น หน่วยกรองไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว 

  ความเสียหายของหน่วยกรองไต ไม่อาจฟื้นกลับมาได้ เพราะไตไม่อาจซ่อมแซมให้ฟื้นคืนดังเดิมได้ เช่นเดียวกับประสาท 

  ดังนั้น การป้องกันไม่ได้เกิดโรคไต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง แต่ถ้าเราสามารถสังเกตพบได้ในระยะเริ่มต้น ตรวจเช็คร่างกายเป็นประจำแล้วพบหมอให้เร็ว จะเท่ากับเราชะลอความเสียหายของหน่วยไตให้ช้าลง เท่ากับติดเบรกให้รถเพื่อชะลอความเร็วไว้บ้างเวลาลงเขา จะได้ไม่ลงเร็วจนเกินไป

  • 1. เลือกอาหารที่มีคุณค่า สุกสะอาด และมีประโยชน์ หลีกเหลี่ยงการกินอาหารไขมันสูง ไม่กินโปรตีนมากจนเกินไปเพราะจะทำให้ไตเสื่อม และไม่กินอาหารน้อยไปจนเกิดภาวะขาดสารอาหาร หลีกเหลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง และอาหารรสจัด การกินเค็มมากไปจะทำให้ไตต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดเกลือส่วนเกินออก กินผักและผลไม้ให้มาก





2. ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยวันละ 1.5-2 ลิตร หรือ 6-8 ถ้วยต่อวัน การดื่มน้อยไปจะทำให้ไตเสื่อม มากไปจะทำให้หัวใจวาย ควรเลือกเดินทางสายกลาง







3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกออกกำลังกายอย่างเหมาะสมซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งในคนปกติและผู้ที่เป็นโรคไต ได้แก่ การเดิน ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค หรือการออกกำลังกายอื่นๆ ที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างต่อเนื่อง การออกกำลังกายที่ดีควรจะต้องทำการอบอุ่นร่างกายหรือเรียกว่า “วอร์มอัพ” ก่อนประมาณ 5-10 นาที ตามด้วยการออกกำลังอย่าง ต่อเนื่องอีก 5-30 นาที


 



4. พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นซึ่งมีผลกระทบทางอ้อมต่อไตทำให้ไตเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น



5. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน ผู้ที่อ้วนเกินไปจะทำให้ไตทำงานหนัก ทำให้ไตเสื่อมหน้าที่เร็วขึ้น เพราะภาวะอ้วนจะทำให้โปรตีนรั่วในปัสสาวะเพิ่มขึ้นจากการกดทับหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงไตทำให้ความดันภายในไตสูงขึ้น โปรตีนที่รั่วนี้จะเป็นตัวทำลายไต การเปลี่ยนแปลงนี้จะดีขึ้นถ้าน้ำหนักตัวลดลง



6. หลีกเหลี่ยงสารเสพติด รวมถึงบุหรี่และแอลกอฮอล์ นอกจากสารเสพติดจะทำลายสุขภาพโดยรวมแล้วยังทำลายไต โดยตรง การดื่มแอลกอฮอล์จะมีผลเสียต่อทั้งตับและไต โดยเฉพาะคนที่ป่วยโรคไตควรเลิกดื่มจะดีที่สุด 



7. หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานานๆ บ่อยครั้งที่คนเราต้องกลั้นปัสสาวะนานๆ บางคนที่ชอบกลั้นปัสสาวะ ทั้งๆ ที่สามารถไปห้องน้ำได้ ที่พบบ่อยในปัจจุบัน ได้แก่ เด็กวัยรุ่นที่เล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ พบว่าการกลั้นปัสสาวะนานๆ เป็นต้นเหตุให้เชื้อโรคแทรกซึมเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะและเกิดการอักเสบของท่อทางเดินปัสสาวะ ในบางรายทำให้เกิดโรคไตอักเสบเฉียบพลันได้


ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

โรคไต เสื่ยงทุกวัย เป็นได้ทุกคน

โรคไตเรื้อรัง อีกหนึ่งโรคที่ต้องเฝ้าระวัง

ไต อวัยวะที่เปรียบได้กับโรงบำบัดของเสียที่ต้องอยู่กับมลพิษตลอดเวลา เนื่องจากมีหน้าที่กรองของเสียออกจากกระแสเลือด การทรุดโทรมของไตจึงเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการใช้ชีวิตของคนในยุคปัจจุบัน

       ปัญหาคือ ผู้ป่วยไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคไต ไตเสียไปครึ่งหนึ่งแล้วก็ยังไม่มีอาการ เพราะโรคไตระยะแรกๆ จะไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ตรวจพบว่าเป็นโรคไต ระดับของโรคก็อยู่ ระดับ 4 แล้ว
ซึ่งประสิทธิภาพของไตได้ลดลงไปแล้วกว่าร้อยละ 70
       โรคไตเป็นโรคที่หากไม่ได้รับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอจะไม่มีทางรู้ได้เลย เป็นหมอไตเองก็ไม่รู้ว่ามีโรคไตอยู่ถ้าไม่เช็คตัวเอง

อาการของโรคไตที่สังเกตได้

💥ปัสสาวะเป็นเลือด หรือ สีแดง


 ปัสสาวะเป็นเลือด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโรคไต แต่ก็อาจจะไม่ใช่ก็ได้ โดยจะปัสสาวะเป็นเลือด อาจเป็นเลือดสดๆ เลือดเป็นลิ่มๆ
💥ปัสสาวะขุ่น หรือเป็นฟองมาก


ปัสสาวะขุ่น อาจเกิดจากมี เม็ดเลือดแดง (ปัสสาวะเป็นเลือด) เม็ดเลือดขาว (มีการอักเสบ) มีเชื้อแบคทีเรีย (แสดงว่ามีการติดเชื้อ) หรืออาจเกิดจากสิ่งที่ร่างกายขับออกจากไต แต่ละลายได้ไม่ดี เช่น พวกผลึกคริสตัลต่างๆ เป็นต้น

💥ปัสสาวะบ่อย หรือแสบขัด ต้องเบ่ง



การผิดปกติของการถ่ายปัสสาวะ เช่นการถ่ายปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบ ปัสสาวะราด เบ่งปัสสาวะ อาการเหล่านี้ ล้วนเป็นอาการผิดปกติ ของระบบทางเดินปัสสาวะ เช่นกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมาก และท่อทางเดินปัสสาวะ
💥ปวดท้องอย่างรุนแรงร่วมกับปัสสาวะขุ่น


การปวดท้องอย่างรุนแรง (colicky pain) ร่วมกับการมีปัสสาวะเป็นเลือด ปัสสาวะขุ่น หรือมีกรวดทราย แสดงว่าเป็นนิ่วในไต และทางเดินปัสสาวะ

💥ปวดหลังเรื้อรังบริเวณไต มีไข้หนาวสั่น


การมีก้อนบริเวณไต หรือบริเวณบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง อาจเป็นโรคไต เป็นถุงน้ำการอุดตันของไต หรือเนื้องอกของไต
การปวดหลัง ในกรณีที่เป็นกรวยไตอักเสบ จะมีอาการไข้หนาวสั่น และปวดหลังบริเวณไต คือ บริเวณสันหลังใต้ซี่โครงซีกสุดท้าย

💥ความดันโลหิตสูงเรื้อรัง


ความดันโลหิตสูง เนื่องจากไตสร้างสารควบคุมความดันโลหิต ประกอบกับไต มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ และเกลือแร่ในร่างกาย เพราะฉะนั้นความดันโลหิต สูงอาจเป็นจากโรคไตโดยตรง หรือในระยะไตวายมากๆ ความดันโลหิตก็จะสูง ได้


ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney