วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การดูแลตนเองหลังจากฟอกไต

การดูแลตนเองหลังจากล้างไต

หมั่นสังเกตการขับถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ จำนวนครั้ง สี สังเกตอาการท้องผูก เพราะอาการท้องผูกจะทำให้ความดันในช่องท้องเพิ่มขึ้น ทำให้เกิดไส้เลื่อนหรือการรั่วซึมของน้ำยา


ควรชั่งน้ำหนักทุกวัน ไม่ควรให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมากกว่า 0.5-1 Kg/วัน หากชั่งน้ำหนักขณะที่มีน้ำยาล้างไตค้างท้องอยู่ให้ลบน้ำหนักน้ำยาล้างไตออกด้วย และควรสังเกตอาการบวมตามร่างกายส่วนต่างๆ 



สังเกตและทำความสะอาดของช่องทางออกของท่อไตทุกวัน และสังเกตบริเวณแผลว่ามีคราบเลือดและหนองหรือไม่ 



สังเกตความขุ่นและสีของน้ำยาล้างไต หากมีความขุ่นหรือมีตะกอนควรมาพบแพทย์



ควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามสัดส่วนปริมาณที่เหมาะสม 




รับประทานยาตามแพทย์สั่งสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง และเมื่อพบการผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์






ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันจันทร์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2559

"ความเค็ม" สาเหตุของโรคไต

ความเค็มสาเหตุของโรคไต 

ความเค็มกับโรคไต เป็นสิ่งคู่กันจริงหรือ? จากอดีตถึงปัจจุบันที่เราต่างเชื่อว่าการกินอาหารที่มีรสชาติเค็มจัดติดต่อกันเป็นเวลานาน คือสาเหตุที่จะทำให้เกิดโรคไต ซึ่งผลกระทบจากความเค็มที่รับประทานเข้าไปมากเกินไป จนส่งผลกระทบต่อร่างกายในระยาวนั้น เราสามารถอธิบายให้เข้าใจกันได้ง่ายๆ ดังนี้

1. ความเค็มทำให้เกิดการคั่งของเกลือในร่างกาย เมื่อร่างกายได้รับเกลือมาเกินไป ก็จะทำให้เกิดการคั่งของเกลือรวมถึงน้ำบางส่วน จึงทำให้รู้สึกว่าตัวบวม เพราะไตไม่สามารถกำจัดน้ำและเกลือได้ทัน เป็นสาเหตุทำให้ไตทำงานหนัก กลายเป็นโรคไตเรื้อรังตามมา ซึ่งการคั่งค้างของเกลือจะพบได้ทั่วร่างกาย ในอวัยวะต่างๆ เช่น หัวใจ ปอด ขา และแขน เป็นต้น 



2. ความเค็มทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น ปริมาณของเกลือโซเดียมเข้าสู่ร่างกายมากเกินความต้องการ นำมาซึ่งภาวะ “ความดันเลือดสูง” พบได้มากในกลุ่มสูงอายุ หากรับประทานอาหารเค็มจัดบ่อยๆ จะทำให้ความดันโลหิตที่สูงไปกระทบต่อการทำงานของหลอดเลือดในจุดต่างๆ โดยเฉพาะหัวใจ ไตจึงต้องทำงานหนักเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออก ลดความดันในเลือดให้น้อยลงนั่นเอง 



3. เกิดความดันในหน่วยไตมากขึ้น ไม่ใช่เพียงแค่ความดันเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกายเท่านั้นที่สูงขึ้น ทว่ายังรวมไปถึงความดันภายในหน่วยไตที่เกิดจากการคั่งของน้ำ และทำให้ไตต้องทำงานหนักเพื่อกรองเอาโซเดียมส่วนเกินออกไปให้ได้มากที่สุด ผลกระทบตามมาคือความดันในหน่วยไตสูงขึ้น พบโปรตีนในปัสสาวะมากขึ้น และทำให้ความดันในหน่วยไตสูง เป็นเหตุให้ไตเสื่อมสภาพอย่างรวดเร็ว ผลกระทบของโซเดียมต่อร่างกาย หากได้รับในอัตราส่วนที่เพียงพอ ก็จะถือว่าเป็นประโยชน์ แต่หากได้รับมากหรือน้อยเกินไปย่อมเกิดโทษ ส่งผลให้ไตต้องทำงานหนัก และตามมาด้วยโรคไตเรื้อรังอื่นๆ ในอนาคต



ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ไตวาย ไม่ทันรู้ตัว

" ไตวาย ไม่ทันรู้ตัว "

ผู้ป่วยโรคไต มักพบเจอเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ
 ไตวายเกิดจากไตสูญเสียการทำงาน ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ส่งผลให้การควบคุมสมดุลของเสีย ในร่างกายเกิดการสูญเสีย

โรคไตวาย มี 2 รูปแบบ

1.โรคไตวายเรื้อรัง 
คือภาวะเนื้อเยื่อไตเสื่อมสภาพ หรือตายลงอย่างช้าๆ จนกระทั่งครบทั้งสอง เรียกว่า ภาวะเนื้อไตเสื่อมสภาพแบบถาวร ไม่หาย ไม่กลับคืนสภาพ ต้องฟอกเลือด ล้างไต ปลูกถ่ายไต จากผู้บริจาคที่เสียชีวิตและมีชีวิตอยู่ ส่วนมากมักเกิดจากโรคประจำตัว เบาหวาน ไขมันสูง ความดัน ด้วยตัวโรคเองก็ส่งผลต่อไตโดยตรง ในเรื่องการไหลเวียนของระบบเลือด ไปเลี้ยงเซลล์ไต ซึ่งมีอยู่เป็นล้านๆเซลล์
ประกอบด้วยการทานยาเคมีเพื่อดูแล โรคเหล่านั้นมาเป็นเวลานานๆ แล้วไม่ดีขึ้น เมื่อร่างกายได้รับสารเคมีต่อเนื่อง เป็นเวลานาน ทำให้ไตทำงานหนักต่อเนื่องเช่นกันจึงทำให้เกิดสภาวะ ไตวาย ฉับพลันได้
ทางที่ดีเราควรดูแลค่าเลือด ของโรคประจำตัวให้อยู่ในเกณฑ์ให้
เร็วที่สุด เพื่อลดการทานยาเคมีต่อเนื่อง




2.โรคไตวายแบบเฉียบพลัน
คือภาวะที่ไตสูญเสียหน้าที่ไปชั่วคราว เนื่องจากมีโรคบางอย่างเกิดขึ้น  เช่น ภาวะช็อค เมื่อหาสาเหตุและแก้ปัญหาได้ ส่วนใหญ่จะกลับคืนสู่สภาวะปกติกรณีแบบนี้คุณหมอมักจะทำการ ฟอกไตฉุกเฉินผ่านต้นคอ หรือหน้าอกเมื่ออาการกลับมาเป็นปกติแล้ว คนป่วยก็ควรจะดูแลบำรุงไตให้ต่อเนื่องจะดีที่สุด 
รวมถึงการดูแลโรคประจำตัว ที่ทำให้เกิดสภาวะไตวายด้วย

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 


ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หน้าที่ การทำงานของไต

การทำงานของไต


การทำงานของไตจะแบ่งออกเป็นสองขั้นตอน
ขั้นแรกเลือดที่เข้าไปที่ไตจะกรองโดยหน่วยไตที่เล็กที่สุดที่เรียกว่า glomeruli ซึ่งจะกรองเอาของเสียออกไป ส่วนเม็ดเลือดแดง โปรตีน จะไม่ออกนอกเส้นเลือด
การทำงานที่ท่อไตซึ่งจะทำหน้าที่ดูดซึมน้ำ และเกลือแร่ที่สำคัญกลับเข้าสู่กระแสเลือด


ไต มีหน้าที่อะไร

ไตเป็นอวัยวะที่สำคัญของร่างกายในการขับของเสีย และควบคุมปริมาณสารน้ำและเกลือแร่ในร่างกายให้สมดุล ปกติมีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วเท่ากำปั้น มีอยู่ 2 อัน ถ้าไตข้างใดข้างหนึ่งเสียไตอีกข้างสามารถทำหน้าที่แทนได้ เมื่อไตเสียหน้าที่ทั้ง 2 ข้าง คือไม่สามารถกรองของเสียหรือที่เรียกว่าไตวายก็จะเกิดอาการซึ่งเกิดจากการคั่งของของเสีย และการคั่งของน้ำและเกลือแร่และการเสียสมดุลของฮอร์โมนของร่างกาย



1.กำจัดของเสีย เมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป เช่นพวกเนื้อสัตว์ซึ่งเป็นอาหารพวกโปรตีนซึ่งจะถูกย่อยสลายเป็นยูเรีย นอกจากนั้นเนื้อเยื่อเราก็มีการสร้างและสลายตามธรรมชาติกล้ามเนื้อที่สลายก็ทำให้เกิด ครีเอดินิน ซึ่งหากเกิดการคั่งก็จะทำให้เกิดอาการซึม มึนงง เบื่ออาหาร อาเจียน หมดสติ

2.ดูดซึม และเก็บสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายไว้ สารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจะถูกดูดกลับโดยเซลล์ของหน่วยไต เช่น น้ำ ฟอสเฟต โปรตีน แคลเซี่ยม

3.รักษาสมดุลน้ำของร่างกาย ถ้าน้ำมีมากเกินความต้องการของร่างกายเช่นดื่มน้ำมากไป ไตจะทำหน้าที่ขับน้ำออกมาทางปัสสาวะ แต่ถ้าอยู่ในภาวะขาดน้ำเช่นท้องร่วง อาเจียน เสียเหงื่อ หรือมีเลือดออกมาก ไตจะพยายามสงวนน้ำไว้ให้ร่างกายโดยการดูดซึมน้ำกลับทำให้ปัสสาวะจะมีปริมาณน้อยและเข้มข้น

4.รักษาสมดุลเกลือแร่ของร่างกาย ไตที่ปกติจะขับเกลือส่วนเกินได้เสมอ แม้จะรับประทานรสเค็มจัด แต่ถ้าเสื่อมสมรรถภาพทำให้ไม่สามารถขับเกลือส่วนเกิน ผู้ป่วยจะมีอาการบวมถ้ารับประทานเกลือมากเกินไป และอาจจะเกิดน้ำท่วมปอด

5.รักษาสมดุลกรดด่างของร่างกาย ร่างกายจะผลิตกรดทุกวัน จากการเผาผลาญอาหารโปรตีน ถ้าไตทำหน้าที่ปกติจะไม่มีกรดคั่ง ถ้าไตเสื่อมสมรรถภาพ ร่างกายจะมีปัสสาวะเป็นกรด หากมีการคั่งของกรดจะทำให้เบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน และหายใจหอบ


6.ควบคุมความดันโลหิต ความดันโลหิตสูงเกิดจากความผิดปกติในการควบคุมสมดุลน้ำและเกลือรวมถึงสารบางชนิดผู้ป่วยโรคไต จึงมักมีความดันโลหิตสูง เพราะไตถูกกระตุ้นให้สร้างสารที่ทำให้ความดันสูง ถ้าความดันโลหิตสูงมากทำให้หัวใจทำงานหนักหรืออาจเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือ แตกเป็นอัมพฤกษและอัมพาตได้


7.ผลิตและควบคุมการทำงานของฮอร์โมน เช่นฮอร์โมนที่ควบคุมปริมาณแคลเซี่ยม และฮอร์โมนที่กระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ถ้าเป็นโรคไต การสร้างฮอร์โมนจะบกพร่องไป ฮอร์โมนที่ไตผลิตได้แก่

Erythropoietin ทำหน้าที่กระตุ้นไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดง

Renin ทำหน้าที่ควบคุมความดันโลหิต

vitamin D ทำหน้าที่สร้างกระดูก

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 

ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ค่าที่ควรรู้ เมื่อ ไตเสื่อม

อาการของโรคไตเรื้อรัง


ผู้ป่วยโรคไตในระยะเริ่มแรก หลายท่านอาจไม่มีอาการรุนแรง จนกระทั่งโรคมาถึงขั้นร้ายแรงแล้ว อาจมีอาการดังต่อไปนี้

➥ อ่อนแรง

➥ คิดอะไรไม่ค่อยออก

➥ เบื่ออาหาร

➥ นอนไม่หลับ

➥ ผิวแห้ง คัน

➥ กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน

➥ เท้าและข้อเท้าบวม

➥ ตาบวมน้ำ โดยเฉพาะในตอนเช้า

➥ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะตอนกลางคืน








การตรวจเมื่ออาจเป็นโรคไตเรื้อรัง แพทย์จะทำการตรวจที่เฉพาะเจาะจงเพิ่มขึ้นเพื่อวางแผนการรักษา 

โดยจะตรวจดังต่อไปนี้

➥ คำนวณค่าการทำงานของไต ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบ่งบอกว่าไตยังทำงานได้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้แพทย์ทราบได้ถึงระยะของโรคไตและช่วยในการวางแผนการรักษา

➥ ทำการตรวจอัลตร้าซาวนด์หรือ CT scan เพื่อถ่ายภาพไต และ ทางเดินปัสสาวะ เพื่อพิจารณาขนาดของไต ตรวจหาก้อนนิ่วหรือเนื้องอก และดูว่ามีปัญหาอะไรเกี่ยวกับโครงสร้างของไตและทางเดินปัสสาวะหรือไม่

ตัดชิ้นเนื้อไตส่งตรวจ ซึ่งจะทำในบางกรณีเท่านั้นในการตรวจดูประเภทของโรคไตที่เฉพาะเจาะจง ดูว่าไตถูกทำลายไปมากน้อยเพียงใด และ ช่วยในการวางแผนการรักษา ในการตัดชิ้นเนื้อนั้น แพทย์จะนำเนื้อเยื่อเล็กๆ ของไตส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์

ค่าการทำงานของไตจะบ่งบอกให้แพทย์ทราบได้ว่าไตทำงานได้มากน้อยเพียงใด เมื่อ อาการโรคไตยังคงดำเนินต่อไปเรื่อยๆ 
#ค่าการทำงานของไต GFR ก็จะลดลงไปเรื่อยๆ เช่นกัน

cr.Bumrungrad International

🍏🍏🍏🍏🍏

ทางเลือกผู้ป่วยไต บำรุง ฟื้นฟูไต ปลอดภัย 
ไม่มีผลข้างเคียง คลิ๊กเลย http://www.hrtexo.com/umikidney